วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้ (2)

ต่อจากบทความ - หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้

อักษรเจ็ดตัว
ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ “เจ้าสามีราม” ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า “เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้” ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่า เอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่า กุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์พระมารดา กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จะว่ารู้คว่ำแก่ หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเราจะแก้ปริศนาธรรมมิได้ พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีราม
ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า “ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด” ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า “ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด”
ครั้นแล้วท่านก็คว่ำบาตรเทอักษรทองคำเริ่มแปลปริศนาธรรมทันที ด้วยอำนาจบุญญาบารมี กฤษดาภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาเป็นพระโพธิสัตว์โปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนา กอปรกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เดชะบุญญาบารมีในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดาทั้งหลายจึงดลบันดาลให้ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรจากเมล็ดทองคำ 84,000 ตัว เป็นลำดับโดยสะดวกไม่ติดขัดประการใดเลย
ขณะที่ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้ว ปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไปเจ็ดตัวคือ ตัว สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ด พราหมณ์ทั้งเจ็ดก็ยอมจำนวน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้ท่านแต่โดยดี ปรากฏว่าท่านแปลพระไตรปิฎกจากเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้น


พระราชมุนี
สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่ง ทรงมีรับสั่งถวายราชสมบัติให้แก่เจ้าสามีรามให้ครอง 7 วัน แต่ท่านก็มิได้รับโดยให้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณะ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้ จึงพระราชทานสมณศักดิ์ให้เจ้าสามีรามเป็น “พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์” ในเวลานั้น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์หรือหลวงพ่อทวดได้ไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชานุวาส ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นเวลาหลายปี ด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา

โรคห่าเหือดหาย
ต่อจากนั้น กรุงศรีอยุธยาเกิดโรคห่าระบาดไปทั่วเมือง ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก สมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มี นิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมากเพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้ ทรงระลึกถึงพระราชมุนีฯ มีรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์ท่านเจ้าเฝ้า ท่านได้ช่วยไว้อีกครั้งโดยรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยและดวงแก้ววิเศษ แล้วทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมแก่ประชาชนทั่วทั้งพระนคร โรคห่าก็หายขาดด้วยอำนาจ คุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่ง ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนสมณศักดิ์ท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชมีนามว่า “พระสังฆราชคูรูปาจารย์” และทรงพอพระราชหฤทัยในองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงมีรับสั่งว่า “หากสมเด็จเจ้าฯ ประสงค์สิ่งใด หรือจะบูรณะวัดวาอารามใดๆ ข้าพเจ้าจะอุปถัมภ์ทุกประการ”

กลับสู่ถิ่นฐาน
ครั้นกาลเวลาล่วงไปหลายปี สมเด็จเจ้าฯได้เข้าเฝ้า ถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงอาลัยมาก ไม่กล้าทัดทานเพียงแต่ตรัสว่า “สมเด็จอย่าละทิ้งโยม” แล้วเสด็จมาส่งสมเด็จเจ้าฯ จนสิ้นเขตพระนครศรีอยุธยา
ขณะที่ท่านรุกขมูลธุดงค์ สมเด็จเจ้าฯ ได้เผยแผ่ธรรมะไปด้วยตามเส้นทาง ผ่านที่ไหนมีผู้เจ็บป่วยก็ทำการรักษาให้ ตามแนวทางที่ท่านเดินพักแรมที่ใดนั้น ที่นั่นก็เกิดเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพสักการะบูชามาถึงบัดนี้ ได้แก่ที่บ้านโกฏิ อำเภอปากพนัง ที่หัวลำภูใหญ่ อำเภอหัวไทร และอีกหลายแห่ง


สมเด็จเจ้าพะโคะ
ต่อจากนั้น ท่านก็ได้ธุดงค์ไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ อันเป็นจุดหมายปลายทาง ประชาชนต่างซึ่งชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่ และได้พร้อมกันถวายนามท่านว่า “สมเด็จเจ้าพะโคะ” และเรียกชื่อวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า “วัดพะโคะ” มาจนบัดนี้ สมเด็จเจ้าฯ เห็นวัดพระโคะเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากถูกข้าศึกทำลายโจรกรรม มีสภาพเหมือนวัดร้างสมเด็จเจ้าฯ กับท่านอาจารย์จวง คิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ยินดีและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้นายช่างผู้ชำนาญ 500 คน และทรงพระราชทานสิ่งของต่างๆ และเงินตราเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก ใช้เวลาประมาณ 3 ปี จึงแล้วเสร็จ สิ่งสำคัญในวัดพะโคะหรือ พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งพระอรหันต์นามว่าพระมหาอโนมทัสสีได้เป็นผู้เดินทางไปอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียสมเด็จเจ้าฯ ได้จำพรรษาเผยแผ่ธรรมที่วัดพะโคะอยู่หลายพรรษา

เหยียบน้ำทะเลจืด
ขณะที่สมเด็จเจ้าฯ จำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ ครั้งนี้คาดคะเนว่า ท่านมีอายุกาลถึง 80 ปีเศษ อยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น 3 คด ชาวบ้านเรียกว่า “ไม้เท้า 3 คด” ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังชายฝั่งทะเลจีน ขณะที่ท่านเดินพักผ่อนรับอากาศทะเลอยู่นั้น ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลียบชายฝั่งมา พวกโจรจีนเห็นท่านเดินอยู่คิดเห็นว่าท่านเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ พวกโจรจึงแวะเรือเทียบฝั่งจับท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือ เรือลำนั้นแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนพยายามแก้ไขจนหมดความสามารถเรือก็ยังไม่เคลื่อน จึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน ในที่สุดน้ำจืดที่นำมาบริโภคในเรือก็หมดสิ้น จึงขาดน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารพากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยกระหายน้ำเป็นอย่างมาก สมเด็จเจ้าฯ ท่านเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกโจรถึงขั้นที่สุดแล้ว ท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเลทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกโจรจีนไปได้

เมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากพื้นน้ำทะเลแล้วก็สั่งให้พวกโจรตักน้ำตรงนั้นมาดื่มชิมดู พวกโจรจีนแม้จะไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดจะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พวกโจรจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้น ก็พากันหวาดเกรงภัยที่จะเกิดแก่พวกเขาต่อไป จึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วนำท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป

เมื่อสมเด็จเจ้าฯ ขึ้นจากเรือเดินกลับวัด ถึงที่แห่งหนึ่งท่านหยุดพักเหนื่อย ได้เอา “ไม้เท้า 3 คด” พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้น ลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนไปจากสภาพเดิกกลับคดๆ งอๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่าต้นยางไม้เท้า ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้

สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงปู่ทวดครองสมณเพศและจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนตลอดมา

สังขารธรรม
หลังจากนั้นหลายพรรษา สมเด็จเจ้าฯ หายไปจากวัดพะโคะเที่ยวจาริกเผยแผ่ธรรมะไปหลายแห่ง จากหลักฐานทราบว่าท่านได้ไปพำนักที่เมืองไทรบุรี ชาวบ้านเรียกท่านว่า “ท่านลังกา” และได้ไปพำนักที่วัดช้างไห้ ชาวบ้านเรียกท่านว่า “ท่านช้างให้” ดังนี้ ท่านได้สั่งแก่ศิษย์ว่าหากท่านมรณภาพเมื่อใด ขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย ขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเหลืองไหลลงสู่พื้นดิน ที่ตรงนั้นให้เอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้างหน้าจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่มาไม่นานเท่าไร ท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ปวงศาสนิกก็นำพระศพมาไว้ที่วัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สถานที่ที่สมเด็จเจ้าฯ เคยพำนักอยู่ หรือไปมา นับได้ดังนี้ วัดกุฎิหลวง วัดสีหยัง วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช กรุงศรีอยุธยา วัดพะโคะ วัดเกาะใหญ่ วัดในไทรบุรี และวัดช้างให้

ปัจฉิมภาค
สมเด็จเจ้าฯ ในฐานะพระโพธิสัตว์หน่อพระพุทธภูมิ ผู้ทรงศีลวิสุทธิทรงธรรมและปัญญาญาณอันล้ำเลิศ กอปรด้วยกฤษดาภินิหารและปาฏิหาริย์ไม่ว่าท่านจะพำนักอยู่สถานที่ใด ที่นั่นจะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าท่านจะจาริกไป ณ ที่ใด ก็จะมีคนกราบไหว้ฟังธรรม หลักการปฏิบัติของท่านเป็นหลักสำคัญของพระโพธิสัตว์คือช่วยเหลือประชาชนและเผยแพร่ธรรมะให้ชาวโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ สมดังคำว่า “พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” ตลอดไป

หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้

ประวัติ หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้
สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ
หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป

ทารกอัศจรรย์
เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้
นี้มีนายว่า “ปู” เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา

สามีราโม
เมื่อกาลล่วงมานานจนเด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบ บิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า “ราโม ธมฺมิโก” แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า “เจ้าสามีราม” หรือ “เจ้าสามีราโม” เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศในครั้งนี้เพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วง

เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมา

เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาส เมื่อประมาณ พ.ศ. 2149 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ


รบด้วยปัญญา
กระทั่งวันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงปู่ทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือลือลั่นไปทั่วกรุงสยาม จึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้ คิดแก้มือด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้พนักงาน ท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อ ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าอันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ดท่านคุมเรืองสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์
เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่าพระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชสาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพของพระองค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย

พระสุบินนิมิต
เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่วพระมหานคร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาลเวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้อื้ออึงไปหมด
ครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระแท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่นจากพระบรรทม
รุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวายบังคมทูลว่า เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

พระสมเด็จวัดเกศไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง



พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็น 1 ใน 3 ตระกูลพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) โดยได้บรรจุไว้ในองค์พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิฐฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร นั่นคือจะต้องมีลักษณะของ อกร่อง หูบายศรี มีขอบกระจก เกือบทุกพิมพ์ทรง วงการพระเครื่องในปัจจุบันให้ความนิยมเป็นอย่างสูงและจัดรวมพระสมเด็จวัดเกศไชโยให้อยู่ในชุด เบญจภาคี เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม

วัดไชโยวรวิหารหรือวัดเกศไชโย ( ชื่อที่ปรากฏในพื้นที่คือ วัดเกศไชโย ) เป็นพระอารามหลวงชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เดิมทีเป็นวัดราษฏร์ สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีประวัติแน่ชัดว่าใครสร้าง แต่มาปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) แห่งวัดระฆังโฆษิตารามได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น เมื่อครั้งปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประมาณปี 2400-2405 ซึ่งขณะนั้นท่านยังดำรงสมณะศักดิ์ที่ พระเทพกวี

การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) มาสร้าง พระหลวงพ่อโต หรือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ภายหลังว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ขึ้นไว้ที่นี่ ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงโยมมารดาซึ่งได้ร่วงลับไปแล้วและเป็นอนุสรณ์สถานความผูกพันในช่วงชีวิตของท่าน เนื่องจากมารดาเคยพาท่านมาพักอยู่ที่ตำบลไชโยเมื่อตอนท่านยังเล็กๆ ซึ่งตามประวัตินั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ท่านมักสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์เกี่ยวกับชีวิตของท่านไว้ตามสถานที่ต่างๆ ไว้มากมาย

ตามบันทึกของพระยาทิพโกษา ( สอน โลหะนันท์ ) ได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) เป็นผู้สร้างขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่ชื่อ เกศ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ทรงสร้างพระพิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น แล้วนำมาแจกรวมทั้งบรรจุกรุไว้ใน กรุวัดไชโยวิหาร ในคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดนี้ และประมาณการจากบันทึกต่างๆว่าน่าจะมีอายุการสร้างสมเด็จพิมพ์วัดเกศไชโยนั้นใกล้เคียงกับสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม

พระสมเด็จวักเกศไชโย จึงถือได้ว่าเป็นสมเด็จอีกตระกูลหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังษี ) ทั้งในด้านการปลุกเสก และบรรจุกรุ ส่วนผสมในการสร้างนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของดีของวิเศษซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) นำมาประสมกันเป็นเนื้อพระนั้น ส่วนใหญ่ใช้สูตรเดียวกับสมเด็จวัดระฆังฯ และสมเด็จบางขุนพรหม

ตามบันทึกคำกล่าวของพระธรรมถาวร (ลูกศิษย์สมเด็จโต) กล่าวว่า "เนื้อที่ใช้สร้างพระสมเด็จนั้น แต่เดิมใช้ผงวิเศษ 5 ประการ ผงเกสรดอกไม้ ปูนขาวและข้าวสุกเท่านั้น


ผงวิเศษ 5 ประการ มีอิทธิคุณดังนี้


1. ผงอิทธิเจ มีอานุอิทธิเจ มีอานุภาพทางเมตตามหานิยม ใครเห็นใครเมตตา ให้ความรักและเอ็นดู

2. ผงปัถมัง มีอานุภาพทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี จังงัง ตลอดจนการพรางตัว(หายตัว) ได้อย่างมหัศจรรย์ยิ่ง

3. ผงมหาราช มีอานุภาพทางเสน่ห์ ชายเห็นชายทัก หญิงเห็นหญิงรัก เหมาะสำหรับการค้าขาย และเข้าหาผู้ใหญ่ จะได้รับการเอ็นดูให้การส่งเสริมได้ดีในราชการและธุรกิจ

4. ผงพุทธคุณ มีอานุภาพป้องกันสิ่งอัปมงคล อาถรรพณ์และไสยศาสตร์สายดำ ป้องกันทำคุณไสย มีอิทธิพลล้ำเลิศทางด้านแคล้วคลาดปลอดภัย ครอบคลุมไปถึงด้านเมตตามหานิยมและมหาอำนาจ

5. ผงตรีนิสิงเห มีอิทธิคุณทางด้านมหาอำนาจ สามารถล้างอาถรรพณ์ น้ำมันพราย สยบอิทธิฤทธิ์ของภูติผีปีศาจได้ดียิ่ง


ซึ่งเมื่อถอดพิมพ์และตากแห้งแล้ว ปรากกฏว่าเนื้อพระจะร้าวและ แตกหักเป็นจำนวนมากเพราะความเปราะ
ต่อมาเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ทดลองใช้ กล้วยหอมจันทน์ และกล้วยน้ำว้าทั้งเนื้อและเปลือกผสมโขลกลงไปด้วย เมื่อเนื้อพระแห้งแล้วก็มีสีเหลืองนวลขึ้น การแตกร้าวลดลงแต่ก็ยังไม่ได้ผลทีเดียว
ต่อมา เจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ทดลองใช้น้ำมันตังอิ้ว ตามคำแนะนำของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองในราชสำนัก สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ผลดีขึ้นจริง
ลักษณะวรรณะพระสมเด็จวัดเกศ เป็นพระที่มีวรรณะหลายสี เช่น ขาวแป้ง ขาวนวล สีเทา และมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด


เนื้อพระสมเด็จวัดเกศไชโย อาจแบ่งได้ 3 ลักษณะคือ เนื้อนุ่ม เนื้อนุ่มปานกลาง และเนื้อแกร่ง
พระเนื้อนุ่มมีมวลสารและน้ำมันตั้งอิ้วผสมอยู่มาก เรียกว่า เนื้อจัด ส่วนใหญ่มีสีขาวขุ่นอมน้ำตาล ( ไม่ใช่คราบเปลื้อนที่ผิว )
พระเนื้อนุ่มปานกลาง มีส่วนผสมที่ได้สัดส่วนลงตัว ส่วนใหญ่สีขาวอมเหลือง
พระเนื้อแกร่ง เป็นพระเนื้อแก่ปูน ผิวแห้ง แกร่ง คล้ายเนื้อหินอ่อน มวลสารปรากฏให้เห็นในปริมาณน้อย


พุทธลักษณะเป็นพระพุทธประทับนั่งสมาธิขัดราบ บนฐานต่าง ๆ กัน คือฐาน 3 ชั้น 5 ชั้น 6 ชั้น 7 ชั้น และเป็นพระพุทธนั่งสมาธิภายใต้ใบโพธิ์ หรือที่เราเรียกว่า ปรกโพธิ์ จำแนกพิมพ์ออกได้เป็น 20 พิมพ์ โดยประมาณดังนี้
1. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์นิยม 7 ชั้น

2. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์เล็ก

3. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์หูประบ่า

4. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์แขนกลม

5. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์เข่าโค้ง

6. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์แข้งหนอน

7. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์ไหล่ตรง

8. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์แขนดิ่ง

9. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์เศียรกลม

10. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์อกตัน

11. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์ต้อ

12. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์ปรกโพธิ์

13. พิมพ์ 6 ชั้น พิมพ์ใหญ่ เอ

14. พิมพ์ 6 ชั้น พิมพ์ใหญ่ บี

15. พิมพ์ 6 ชั้น พิมพ์ล่ำ

16. พิมพ์ 6 ชั้น พิมพ์ไหล่ตรง

17. พิมพ์ 6 ชั้น พิมพ์อกตัน

18. พิมพ์ 6 ชั้น พิมพ์อกตอด

19. พิมพ์ 5 ชั้น

20. พิมพ์ตลก

แต่พิมพ์ที่วงการสากลนิยมมี 3 พิมพ์ด้วยกันคือ
สมเด็จพิมพ์ 7 ชั้นนิยม
สมเด็จพิมพ์ 6 ชั้น
สมเด็จพิมพ์ 3 ชั้น






พระสมเด็จเกศไชโย 7 ชั้นนิยม
1. ทีเด็ด-พระเกศปลายแหลม ตรงกลางจะโปนออกแผ่วๆ

2. พระกรรณเป็นหูบายศรี พระกรรณซ้ายจะเชิดสูงกว่า

3. พระพักตร์และพระศอ ดูรวมๆคล้ายหัวไม้ขีด

4. ทีเด็ด-พระสภาพเดิมๆติดคมชัด จะเห็นโคนแขน แทงเข้าไปที่หัวไหล่

5. อกพระจะนูน ส่วนล่างถัดลงมาจะเป็นเส้นคู่พลิ้ว

6. ตรงกลางกรอบกระจก ด้านซ้ายมือเราส่วนใหญ่ มักเป็นแอ่งท้องช่างเบาๆ

7. ขอบกระจกด้านล่างขวามือของเราส่วนใหญ่ มักจะเป็นแอ่งท้องช่าง

8. ปลายฐานชั้นล่างสุดทั้งสองข้าง จะเป็นเดือยวิ่งชนเส้นครอบแก้ว

9. เนื้อหาพระละเอียด บางองค์เป็นมันลื่นคล้ายหินสบู่ ถ้าพลิกด้านหลังจะเห็นชัด





พระสมเด็จเกศไชโย 6 ชั้น อกตัน


1 .พระเกศยาวแหลม ในองค์ชัด ติดเต็มๆตรงกลางจะโปร่งเล็กน้อย

2. ลำคอจะเล็กและอาจบิดได้ ถือเป็นเรื่องปกติ

3. พระอุทร พลิ้วเล็กน้อย แต่ดูแข็งกว่าพิมพ์ 7 ชั้นนิยมเล็กน้อย

4. แขนทั้งสองข้างจะหักศอกน้อยๆ

5. เข่าจะอิ่มและปลายจะเชิดงอนขึ้น

6. รอยเหนอะที่ข้างฐาน

7. รอยแตกรานบนผิวเป็นเหลี่ยมเป็นมุม






พระสมเด็จเกศไชโย 6 ชั้น อกตลอด


1. พระเกศเป็นลำยาว ในพระสวยจัดๆตรงกลางโป่งออกบางๆคล้ายเปลวเทียว

2. พระพักตร์ และพระศอคล้ายหัวไม้ขีดในองค์ชัดๆ ตรงกลางพระพักตร์ จะเห็นเป็นสันนูน

3. วงแขนหักโค้งเบาๆพองาม แลคล้ายถ้วยไวน์

4. พระอุระ + พระอุทร แลรวมๆคล้ายซี่ฟัน สังเกตให้ดี พระอุทรแลคล้ายรากฟันแต่จะไหวพริ้ว อ่อนช้อย

5. กรอบกระจกด้านข้างองค์พระ โดยมากจะไม่เรียบ แต่จะเป็นแอ่งท้องช้างบางๆ

6. ใต้กรอบกระจก ในองค์ชัดๆจะเห็นเส้นทิว ยาวบางๆ 2-3 เส้น

7. การแตกลายงา จะเป็นเหลี่ยมมากกว่าการแตกยิบแบบชามสังกะโลก


ตำหนิเอกลักษณ์
ด้านหลัง
1. ขอบพระโดยมากจะมน

2. รอยแตกรายงามักปรากฏที่ขอบพระ

3. ผิวจะลื่นเนียน คล้ายหินสบู่ไม่สากมือ