วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

พระสมเด็จวัดเกศไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง



พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็น 1 ใน 3 ตระกูลพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) โดยได้บรรจุไว้ในองค์พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิฐฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร นั่นคือจะต้องมีลักษณะของ อกร่อง หูบายศรี มีขอบกระจก เกือบทุกพิมพ์ทรง วงการพระเครื่องในปัจจุบันให้ความนิยมเป็นอย่างสูงและจัดรวมพระสมเด็จวัดเกศไชโยให้อยู่ในชุด เบญจภาคี เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม

วัดไชโยวรวิหารหรือวัดเกศไชโย ( ชื่อที่ปรากฏในพื้นที่คือ วัดเกศไชโย ) เป็นพระอารามหลวงชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เดิมทีเป็นวัดราษฏร์ สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีประวัติแน่ชัดว่าใครสร้าง แต่มาปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) แห่งวัดระฆังโฆษิตารามได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น เมื่อครั้งปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประมาณปี 2400-2405 ซึ่งขณะนั้นท่านยังดำรงสมณะศักดิ์ที่ พระเทพกวี

การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) มาสร้าง พระหลวงพ่อโต หรือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ภายหลังว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ขึ้นไว้ที่นี่ ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงโยมมารดาซึ่งได้ร่วงลับไปแล้วและเป็นอนุสรณ์สถานความผูกพันในช่วงชีวิตของท่าน เนื่องจากมารดาเคยพาท่านมาพักอยู่ที่ตำบลไชโยเมื่อตอนท่านยังเล็กๆ ซึ่งตามประวัตินั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ท่านมักสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์เกี่ยวกับชีวิตของท่านไว้ตามสถานที่ต่างๆ ไว้มากมาย

ตามบันทึกของพระยาทิพโกษา ( สอน โลหะนันท์ ) ได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) เป็นผู้สร้างขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่ชื่อ เกศ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ทรงสร้างพระพิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น แล้วนำมาแจกรวมทั้งบรรจุกรุไว้ใน กรุวัดไชโยวิหาร ในคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดนี้ และประมาณการจากบันทึกต่างๆว่าน่าจะมีอายุการสร้างสมเด็จพิมพ์วัดเกศไชโยนั้นใกล้เคียงกับสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม

พระสมเด็จวักเกศไชโย จึงถือได้ว่าเป็นสมเด็จอีกตระกูลหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังษี ) ทั้งในด้านการปลุกเสก และบรรจุกรุ ส่วนผสมในการสร้างนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของดีของวิเศษซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) นำมาประสมกันเป็นเนื้อพระนั้น ส่วนใหญ่ใช้สูตรเดียวกับสมเด็จวัดระฆังฯ และสมเด็จบางขุนพรหม

ตามบันทึกคำกล่าวของพระธรรมถาวร (ลูกศิษย์สมเด็จโต) กล่าวว่า "เนื้อที่ใช้สร้างพระสมเด็จนั้น แต่เดิมใช้ผงวิเศษ 5 ประการ ผงเกสรดอกไม้ ปูนขาวและข้าวสุกเท่านั้น


ผงวิเศษ 5 ประการ มีอิทธิคุณดังนี้


1. ผงอิทธิเจ มีอานุอิทธิเจ มีอานุภาพทางเมตตามหานิยม ใครเห็นใครเมตตา ให้ความรักและเอ็นดู

2. ผงปัถมัง มีอานุภาพทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี จังงัง ตลอดจนการพรางตัว(หายตัว) ได้อย่างมหัศจรรย์ยิ่ง

3. ผงมหาราช มีอานุภาพทางเสน่ห์ ชายเห็นชายทัก หญิงเห็นหญิงรัก เหมาะสำหรับการค้าขาย และเข้าหาผู้ใหญ่ จะได้รับการเอ็นดูให้การส่งเสริมได้ดีในราชการและธุรกิจ

4. ผงพุทธคุณ มีอานุภาพป้องกันสิ่งอัปมงคล อาถรรพณ์และไสยศาสตร์สายดำ ป้องกันทำคุณไสย มีอิทธิพลล้ำเลิศทางด้านแคล้วคลาดปลอดภัย ครอบคลุมไปถึงด้านเมตตามหานิยมและมหาอำนาจ

5. ผงตรีนิสิงเห มีอิทธิคุณทางด้านมหาอำนาจ สามารถล้างอาถรรพณ์ น้ำมันพราย สยบอิทธิฤทธิ์ของภูติผีปีศาจได้ดียิ่ง


ซึ่งเมื่อถอดพิมพ์และตากแห้งแล้ว ปรากกฏว่าเนื้อพระจะร้าวและ แตกหักเป็นจำนวนมากเพราะความเปราะ
ต่อมาเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ทดลองใช้ กล้วยหอมจันทน์ และกล้วยน้ำว้าทั้งเนื้อและเปลือกผสมโขลกลงไปด้วย เมื่อเนื้อพระแห้งแล้วก็มีสีเหลืองนวลขึ้น การแตกร้าวลดลงแต่ก็ยังไม่ได้ผลทีเดียว
ต่อมา เจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ทดลองใช้น้ำมันตังอิ้ว ตามคำแนะนำของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองในราชสำนัก สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ผลดีขึ้นจริง
ลักษณะวรรณะพระสมเด็จวัดเกศ เป็นพระที่มีวรรณะหลายสี เช่น ขาวแป้ง ขาวนวล สีเทา และมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด


เนื้อพระสมเด็จวัดเกศไชโย อาจแบ่งได้ 3 ลักษณะคือ เนื้อนุ่ม เนื้อนุ่มปานกลาง และเนื้อแกร่ง
พระเนื้อนุ่มมีมวลสารและน้ำมันตั้งอิ้วผสมอยู่มาก เรียกว่า เนื้อจัด ส่วนใหญ่มีสีขาวขุ่นอมน้ำตาล ( ไม่ใช่คราบเปลื้อนที่ผิว )
พระเนื้อนุ่มปานกลาง มีส่วนผสมที่ได้สัดส่วนลงตัว ส่วนใหญ่สีขาวอมเหลือง
พระเนื้อแกร่ง เป็นพระเนื้อแก่ปูน ผิวแห้ง แกร่ง คล้ายเนื้อหินอ่อน มวลสารปรากฏให้เห็นในปริมาณน้อย


พุทธลักษณะเป็นพระพุทธประทับนั่งสมาธิขัดราบ บนฐานต่าง ๆ กัน คือฐาน 3 ชั้น 5 ชั้น 6 ชั้น 7 ชั้น และเป็นพระพุทธนั่งสมาธิภายใต้ใบโพธิ์ หรือที่เราเรียกว่า ปรกโพธิ์ จำแนกพิมพ์ออกได้เป็น 20 พิมพ์ โดยประมาณดังนี้
1. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์นิยม 7 ชั้น

2. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์เล็ก

3. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์หูประบ่า

4. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์แขนกลม

5. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์เข่าโค้ง

6. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์แข้งหนอน

7. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์ไหล่ตรง

8. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์แขนดิ่ง

9. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์เศียรกลม

10. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์อกตัน

11. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์ต้อ

12. พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์ปรกโพธิ์

13. พิมพ์ 6 ชั้น พิมพ์ใหญ่ เอ

14. พิมพ์ 6 ชั้น พิมพ์ใหญ่ บี

15. พิมพ์ 6 ชั้น พิมพ์ล่ำ

16. พิมพ์ 6 ชั้น พิมพ์ไหล่ตรง

17. พิมพ์ 6 ชั้น พิมพ์อกตัน

18. พิมพ์ 6 ชั้น พิมพ์อกตอด

19. พิมพ์ 5 ชั้น

20. พิมพ์ตลก

แต่พิมพ์ที่วงการสากลนิยมมี 3 พิมพ์ด้วยกันคือ
สมเด็จพิมพ์ 7 ชั้นนิยม
สมเด็จพิมพ์ 6 ชั้น
สมเด็จพิมพ์ 3 ชั้น






พระสมเด็จเกศไชโย 7 ชั้นนิยม
1. ทีเด็ด-พระเกศปลายแหลม ตรงกลางจะโปนออกแผ่วๆ

2. พระกรรณเป็นหูบายศรี พระกรรณซ้ายจะเชิดสูงกว่า

3. พระพักตร์และพระศอ ดูรวมๆคล้ายหัวไม้ขีด

4. ทีเด็ด-พระสภาพเดิมๆติดคมชัด จะเห็นโคนแขน แทงเข้าไปที่หัวไหล่

5. อกพระจะนูน ส่วนล่างถัดลงมาจะเป็นเส้นคู่พลิ้ว

6. ตรงกลางกรอบกระจก ด้านซ้ายมือเราส่วนใหญ่ มักเป็นแอ่งท้องช่างเบาๆ

7. ขอบกระจกด้านล่างขวามือของเราส่วนใหญ่ มักจะเป็นแอ่งท้องช่าง

8. ปลายฐานชั้นล่างสุดทั้งสองข้าง จะเป็นเดือยวิ่งชนเส้นครอบแก้ว

9. เนื้อหาพระละเอียด บางองค์เป็นมันลื่นคล้ายหินสบู่ ถ้าพลิกด้านหลังจะเห็นชัด





พระสมเด็จเกศไชโย 6 ชั้น อกตัน


1 .พระเกศยาวแหลม ในองค์ชัด ติดเต็มๆตรงกลางจะโปร่งเล็กน้อย

2. ลำคอจะเล็กและอาจบิดได้ ถือเป็นเรื่องปกติ

3. พระอุทร พลิ้วเล็กน้อย แต่ดูแข็งกว่าพิมพ์ 7 ชั้นนิยมเล็กน้อย

4. แขนทั้งสองข้างจะหักศอกน้อยๆ

5. เข่าจะอิ่มและปลายจะเชิดงอนขึ้น

6. รอยเหนอะที่ข้างฐาน

7. รอยแตกรานบนผิวเป็นเหลี่ยมเป็นมุม






พระสมเด็จเกศไชโย 6 ชั้น อกตลอด


1. พระเกศเป็นลำยาว ในพระสวยจัดๆตรงกลางโป่งออกบางๆคล้ายเปลวเทียว

2. พระพักตร์ และพระศอคล้ายหัวไม้ขีดในองค์ชัดๆ ตรงกลางพระพักตร์ จะเห็นเป็นสันนูน

3. วงแขนหักโค้งเบาๆพองาม แลคล้ายถ้วยไวน์

4. พระอุระ + พระอุทร แลรวมๆคล้ายซี่ฟัน สังเกตให้ดี พระอุทรแลคล้ายรากฟันแต่จะไหวพริ้ว อ่อนช้อย

5. กรอบกระจกด้านข้างองค์พระ โดยมากจะไม่เรียบ แต่จะเป็นแอ่งท้องช้างบางๆ

6. ใต้กรอบกระจก ในองค์ชัดๆจะเห็นเส้นทิว ยาวบางๆ 2-3 เส้น

7. การแตกลายงา จะเป็นเหลี่ยมมากกว่าการแตกยิบแบบชามสังกะโลก


ตำหนิเอกลักษณ์
ด้านหลัง
1. ขอบพระโดยมากจะมน

2. รอยแตกรายงามักปรากฏที่ขอบพระ

3. ผิวจะลื่นเนียน คล้ายหินสบู่ไม่สากมือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น