วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พระสมเด็จบางขุนพรหม


ดังที่ทราบโดยทั่วไปว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมฺรังษี) ได้สร้างพระสมเด็จวัดระฆังที่ดังและประมาณค่ามิ ได้ และยังเป็นหนึ่งในเบญจภาคีชุดใหญ่ โดยให้สมเด็จวัดระฆังเป็นจักรพรรดิ์พระเครื่อง โดยพุทธคุณมิต้องพูดถึงเพราะ ยอดเยี่ยมในทุกๆ ด้าน และยังเป็นที่ต้องการของประชาชนทั่วไป
และอีกวัดหนึ่งที่ท่านไปสร้างไว้ในจังหวัดอ่างทองคือ สมเด็จวัดเกษไชโย ท่านสร้างเพื่ออุทิศให้แก่บิดามารดาของท่านและเป็นที่นิยมมากเช่นกัน วัดที่สามดังจะกล่าวถึงต่อไปนี้ คือสมเด็จบางขุนพรหม ซึ่งเป็นพระเนื้อผงเช่นเดียวกับวัดระฆังและวัดไชโย

ประวัติการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม(วัดใหม่อมตรส)บางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร
เสมียนตราด้วง ท่านเป็นต้นสกุล ธนโกเศศ เป็นคหบดีผู้มั่งคั่งย่านบางขุนพรหม และจากหน้าประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ผู้ประติมากรรมพระสมเด็จวัดระฆัง อันมีค่านิยมสูงจนรั้งตำแหน่งราชาแห่งพระเครื่องมาโดยตลอดนั้น ท่านเสมียนตราด้วง ท่านได้ปวารณาตัวเป็นโยมอุปัฏฐากและรับใช้ใกล้ชิดในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ พระองค์นั้นอย่างเสมอต้นเสมอปลายตลอดมาทุกยุคทุกสมัย แต่ครั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังเป็นสามเณร และได้จำเริญสมณศักดิ์จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณสถาปนาเป็นที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ จนกระทั่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านชราภาพ ชนม์มายุได้ ๘๔ ปี จึงได้ลาจากสมณศักดิ์ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ ท่านได้จึงมาพักผ่อนและแสวงหาความสงบวิเวกอยู่ ณ ที่วัดบางขุนพรหม กำกับดูแลช่างเขียนภาพประวัติส่วนตัวของท่านและควบคุมช่างก่อสร้างพระศรีอริยเมตไตรย อีกด้วยวัดบางขุนพรหมในอดีตนั้นเป็นวัดที่มีอาณาเขตที่กว้างขวางมากวัดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านกลับมาพักผ่อนเป็นที่สำราญอารมณ์อยู่นั้น ได้มีชาวบ้านในย่านบางขุนพรหมได้นำเอาที่ดินอันเป็นเรือกสวนไร่นามาถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ แล้วรวมเป็นที่ดินของวัดบางขุนพรหม และเพื่อให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระหลวงพ่อโต เมื่อรวมที่ดินของวัดบางขุนพรหมแล้วมีอาณาเขตกว้างขวาง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือจดคลองเทเวศร์ ทิศตะวันออกถึงบ้านพานบ้านหล่อพระนครครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงพิจารณาเห็นความจำเป็นในการถมนาเพื่อความเจริญของบ้านเมือง จึงทรงมีพระราชดำริให้ตัดถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ผ่านกลางวัดบางขุนพรหม จึงทำให้วัดบางขุนพรหมต้องแยกออกเป็นสองวัด คือ วัดบางขุนพรหมใน หรือ วัดใหม่อมตรส ในปัจจุบัน และวัดบางขุนพรหมนอก คือวัดอินทรวิหาร อันเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) และเมื่อทางราชการได้ตัดถนนสามเสนก็ได้แบ่งที่ดินของวัดบางขุนพรหมออกไปอีกส่วนหนึ่ง

วัดบางขุนพรหมเป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นวัดที่สร้างอยู่บนที่ดอนห้อมล้อมไปด้วยเรือกสวนและไร่นา เข้าใจว่าเป็นวัดที่ประชาชนในละแวกนั้นช่วยกันสร้างและบูรณะสืบต่อๆ กันมา เมื่อปีจอ พุทธศักราช ๒๓๒๑ เจ้าอินทรวงศ์ราชโอรสในพระเจ้าธรรมเทววงศ์ ผู้ครองนครศรีสัตนาครหุตได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ในรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ต่อมาครั้นสร้างกรุงเทพมหานครเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ทว่าวัดบางขุนพรหมไม่เคยได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์เลยสักครั้งเดียว สิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้ปรักหักพังลง สืบต่อมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ เสมียนตราด้วง พร้อมกับชาวบ้านในย่านบางขุนพรหมและท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้ร่วมใจกันบริจาคจตุปัจจัยไทยธรรมจัดการสร้าง และซ่อมแซมวัดบางขุนพรหมขึ้นมาใหม่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

นอกจากนั้นแล้วยังได้จัดสร้างพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่ประดิษฐานไว้ที่หน้าวัดบางขุนพรหมเป็นพิเศษอีกด้วย เมื่อดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว การสร้างพระเจดีย์ครั้งนี้ มีการสร้างทั้งพระเจดีย์องค์ใหญ่ เพื่อบรรจุพระ ตามโบราณคติของการสร้างมหากุศล ในอันที่จะสืบทอดพระศาสนา และสร้างเจดีย์องค์เล็กเพื่อบรรจุอัฐิบรรพบุรุษ เมื่อก่อสร้างศาสนสถานเสร็จแล้ว เสมียนตราด้วง ได้เข้าไปกราบของอนุญาต สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นที่เคารพอย่างยิ่งของประชาชนในยุคนั้น ทำการสร้างพระเครื่องเพื่อบรรจุในพระเจดีย์องค์ใหญ่ ณ วัดใหม่อมตรส ที่ตนได้สร้างพึ่งแล้วเสร็จ

......สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ทรงประทานอนุญาต และมอบผงวิเศษ ที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของท่านส่วนหนึ่ง ไปเป็นส่วนผสมในการสร้างในครั้งนี้ และได้ทำการปลุกเสกพระที่สร้างขึ้นใหม่นี้ ตามคำอาราธนาของเสมียนตราด้วง จากนั้นจึงนำพระที่ผ่านการปลุกเสกโดยสมเด็จฯท่านทุกองค์ ไปบรรจุลงในเจดีย์องค์ใหญ่ .

.....สำหรับพระเนื้อผงที่สร้างในกิจครั้งนี้ เป็นพระเนื้อผงแก่ปูนขาว รูปทรงสี่เหลี่ยม ตามแบบของพระสมเด้จวัดระฆัง ที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ซึ่งเป็นการสร้างไปแจกไป หากแต่พระที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ เป็นพระที่สร้างขึ้นมาเพื่อบรรจุลงในกรุหรือเจดีย์ทั้งสิ้น โดยมีจำนวนการสร้าง ตามคตินิยมเท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ คือ ๘๔,๐๐๐ องค์ และได้มีการเรียกชื่อพระเครื่องดังกล่าวนี้ว่า พระสมเด็จบางขุนพรหม ต่อมาในชั้นหลัง ตามชื่อตำบลที่ตั้งของเจดีย์ซึ่งบรรจุลงในพระเจดีย์องค์ใหญ่

......อายุของพระสมเด็จบางขุนพรหมจึงไม่ห่างจากสมเด็จวัดระฆังมากนัก แต่เนื่องจากช่างผู้แกะพิมพ์พระ ต่างกลุ่มกันกับช่างผู้แกะพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง ดังนั้นพิมพ์ต่างๆของสมเด็จบางขุนพรหม จึงมีความแตกต่างจากสมเด็จวัดระฆัง แต่ด้วยช่างทั้ง ๒ กลุ่ม เป็นช่างยุคเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นสกุลช่างศิลปเดียวกัน และได้มีการสร้างที่อาศัยต้นแบบเค้าโครงเดียวกัน ดังนั้นพระเครื่องทั้งสองวัดจึงมีองค์ประกอบศิลปะที่สอดคล้องคล้ายคลึงกัน

......พระสมเด็จบางขุนพรหม ได้มีการจำแนกออกเป็นพิมพ์ใหญ่ๆ ได้ทั้งหมด ๙ พิมพ์คือ

1. พิมพ์ใหญ่




2. พิมพ์เส้นด้าย




3. พิมพ์ทรงเจดีย





4. พิมพ์เกศบัวตูม




5. พิมพ์ฐานแซม




6. พิมพ์สังฆาฎิ (จะมี2พิมพ์ ไม่มีหู กับมี)





7. พิมพ์อกครุฑ






8. พิมพ์ฐานคู่




9. พิมพ์ปรกโพธิ์



*พิมพ์ของ พระสมเด็จบางขุนพรหม ใ มีจำนวนพิมพ์มากกว่า สมเด็จวัดระฆัง 4 พิมพ์ คือ เส้นด้าย ฐานคู่ สังฆาฏิ และอกครุฑ*

พระสมเด็จบางขุนพรหม ได้ถูกเปิดกรุอย่างไม่เป็นทางการถึง ๓ ครั้ง

ครั้งแรก ในปี พ.ศ.๒๔๒๕

ครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖

ครั้งที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙

.....พระสมเด็จที่ได้มาจากกรุ ทั้ง ๓ ครั้งนี้ เราเรียกโดยรวมว่า
พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า .ซึ่งลักษณะของวรรณะ(ผิว) ขององค์พระที่เกลี้ยงเกลา มีคราบกรุจับอยู่น้อย เนื้อค่อนข้างหยาบกว่าพระที่ขุดในชั้นหลังเล็กน้อย และส่วนใหญ่จะไม่มีคราบฟู หรือเม็ดกรวดทรายจับอยู่บนองค์พระ
.....หลังจากทำการเปิดกรุในยุคแรกไปแล้ว ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้มีการลักลอบขุดเจาะเจดีย์ เพื่อนำพระออกมาอยู่ตลอดเวลา แม้จะมีมาตรการป้องกันจากทางวัด จนกระทั่งทางวัดใหม่อมตรสมีการประกาศเปิดกรุอย่างเป็นทางการ เพื่อนำพระออกมาจากพระเจดีย์ทั้งหมดโดยเชิญ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานในพิธีเปิดกรุดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๐ พระที่นำออกมาครั้งนี้เรียกว่า พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่

......พระที่ได้ในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อละเอียดแก่ปูน มีคราบกรุ และคราบเต้าหู้เกาะเป็นชั้นๆ จับหนา (ซึ่งคราบขี้กรุที่จับอยู่บนองค์พระเหล่านี้ เกิดจากความชื้นทำปฏิกิริยากับปูนขาว เกิดเป็นฟอสเฟตเกาะติดบนองค์พระ เนื่องจากพระที่พบ เป็นพระบรรจุอยู่ตรงส่วนฐานขององค์พระเจดีย์ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำท่วมขังอยู่เสอม นอกจากนี้การลักลอบนำพระออกจากกรุวิธีหนึ่ง คือการเทน้ำลงในเจดีย์ที่บรรจุพระ เพื่อให้แรงน้ำที่เขาเทลงไป ทำให้พระกระเด็นขึ้นมาติดสายเบ็ดที่ปลายมีดินเหนียว แล้วนำพระขึ้นมาจากกรุ แต่ทิ้งน้ำไว้ในกรุ จนส่งผลให้พระที่เหลือเปียกชื้นแฉะจนเกิดมีคราบจับหนา พระจำนวนมากที่เกาะติดกันเป็นก้อนไม่สามารถแกะออกจากกันได้ และจำนวนไม่น้อยที่หักเสียหาย จากการกระทำดังกล่าว คงเหลือพระที่มีสภาพดีโดยประมาณ ๓,๐๐๐ องค์) ติดสนิทแน่นเป็นเนื้อเดียวกับองค์พระและทางวัดได้นำพระออกให้บูชา เพื่อหารายได้มาบูรณะวัดฯ โดยมีอัตราทำบุญตั้งแต่ ๕๐๐ - ๒,๐๐๐ บาท ตามสภาพพระ ซึ่งนับว่ามีราคาสูงมากในยุคนั้น
......พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองจากพระสมเด็จวัดระฆัง ในตระกูลพระสมเด็จทั้งสามวัด ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ได้มีส่วนสำคัญในการสร้าง ซึ่งพระสมเด็จทั้งสามวัดนี้ ล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมสูงมาก มีราคาแพง หายาก และได้รับความศรัทธาจากประชาชนว่ามีพุทธานุภาพศักดิ์สิทธิ์ ไม่น้อยไปกว่ากัน ที่มีพุทธคุณสูงทางเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดนิรันตราย และหลายคนยังเชื่อส่วนตัวว่า นำพระมาขูดผงผสมดื่ม สามารถรักษาโรคต่างฯ ได้เป็นอย่างดี พระมหาเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหม ตอนเปิดกรุ ได้พบ พิมพ์แบบเดียววัดระฆังเนื้อหาวัดระฆังแต่มีคราบกรุจึงเรียก พระสองคลอง และมีการนำชิ้นส่วนที่แตกหักมาสร้างเป็น สมเด็จปี09

1 ความคิดเห็น:

  1. จะเห็นว่า..เจตนารมณ์และกุศโลบายของผู้สร้างเป็นเหตุให้เกิดการสร้างและรวบรวมพระสมเด็จ+สถานที่สำหรับใช้บรรจุและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยมีขนาดพื้นที่ต้องกว้างขวางใหญ่โตและเหมาะสมที่สุด(สถูปหรือเจดีย์ที่สามารถรองรับได้กับจำนวนพระที่ต้องการบรรจุอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า84,000องค์เพื่อพอเพียงจะสืบทอดให้แก่ชนรุ่นหลังต่อไป)..อนึ่งสถานที่บรรจุและจัดเก็บนี้ต้องมีพื้นที่ไม่คับแคบไม่เหมาะสมอย่างเช่นใต้ฐานพระพุทธรูปองค์โตที่สร้างแบบเดิมๆซึ่งจะไม่ขอตอบในที่นี้ว่าสถูปและเจดีย์ที่ว่านี้เป็นสถานที่ใดแต่ก็คิดว่าบางท่านคงคิดเดาเอาได้เองแล้ว)..และเหตุที่กล่าวข้างต้นจะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เราสามารถหาคำตอบได้อย่างถูกต้องตรงกับความเป็นจริงที่สุดว่าเป็นพระสมเด็จแท้ที่ท่านสร้างหรืออาจมีผู้ร่วมสร้างและปลุกเสกเองแล้วนำมาร่วมถวายให้สมเด็จโตท่านมาเป็นองค์ประธาน(ปลุกเสกใหม่ทั้งหมดในวาระสุดท้ายด้วยองค์ท่านเองก่อนบรรจุจึงทำให้พระเหล่านี้กลายเป็นพระแท้ซึ่งมีอยู่รวมกันมากมายหลากหลายพิมพ์ทรงอันมีหลักฐานสำแดงให้เราเห็นแล้วว่ามีอยู่จริงครั้งตอนที่ทางการเปิดกรุนั้นออกมา)..เพียงแค่ข้อมูลเล็กๆน้อยๆเหล่านี้จะทำให้พื้นที่ค้นหาพระสมเด็จแท้แคบลงมาทันทีจากการที่จะต้องเสียเวลาไปงมเข็มกันในมหาสมุทร(ส่องเอาแต่เฉพาะพระสมด็จที่คิดเอาว่าต้องมาจากวัดระฆัง)แบบเดิมๆจึงเป็นเหตุให้เกิดการถกเถียงกันอย่างไม่รู้จบ(รู้ไม่จริง)แต่กลับต้องมาอาศัยการอ้างอิงดูพระแท้ว่าต้องเป็นไปตามหลักสากลนิยมที่ตกสืบทอดกันมาแต่ครั้งอดีตกาล(สากลตามตำหรับตำรา,สากลตามแบบบรรพบุรุษ,สากลเฉพาะกลุ่มเฉพาะตน..ฯลฯ)ที่มีแต่ของเก๋ระบาดและยังส่งผลสร้างความคลุมเคลือสืบต่อไปดังที่มีปรากฏอยู่ในวงการพระเครื่องจวบจนกระทั่งทุกวันนี้..นั่นเอง..ถ้าถามว่าเราเสาะแสวงหาและต้องการสะสมพระสมเด็จแท้เพื่อการใด?1.พุทธพานิช2.พุทธอนุรักษ์(ศิลปะและพุทธศิป์)หรือ3.ยึดถือพุทธานุภาพและพุทธคุณที่มีอยู่ในพระสมเด็จ(ปลุกเสกด้วยอภิญญาของท่านสมเด็จโต)..ส่วนเรื่องการจรรโลงและสืบทอดพุทธศาสนาด้วยการสร้างพระสมเด็จนั้นเป็นกุศโลบายและเจตนารมณ์ของผู้สร้างโดยตรงอยู่แล้ว...กรณีถ้าคำตอบคือข้อ1และข้อ2แสดงว่าเราจะสามารถตามหาพระสมเด็จแท้โดยอาศัยลักษณะทางรูปธรรมเป็นหลักซึ่งปกติต้องมีมูลค่าทางด้านราคารองรับอยู่หรือใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินซึ่งอาจเป็นเหตุให้เราได้ครอบครองเพียงแค่พระอิฐพระปูนเท่านั้นแต่ถ้าคำตอบคือข้อ3แสดงว่าเราสามารถอาศัยทั้งลักษณะทางรูปธรรม(มาตรฐานต่างๆด้านพิมพ์ทรง,เนื้อหามวลสาร,ความเก่า,แม่พิมพ์,ขั้นตอนก่อน,ขณะ,ภายหลังสร้าง)และส่วนที่เรายังเข้าไม่ถึงซึ่งก็คือลักษณะทางนามธรรม(พุธคุณส่วนที่สมเด็จโตท่านเจริญมงคลคาถาปลุเสกที่สามารถรู้ได้เฉพาะตน,ผู้มีอภิญญา,เรียนรู้ได้ยาก)ขององค์พระก็จะใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินบนองค์พระเองได้โดยสมบูรณ์ที่สุด..มิฉะนั้นเรื่องราวหรือสิ่งที่กล่าวยกอ้างนั้นจะกลายเป็นแค่ความเท็จและความเชื่อของผู้ที่ได้นำมาเสนอแต่เพียงฝ่ายเดียว..เท่านั่นเอง(หากศรัทธาพุทธคุณในองค์พระสมเด็จว่าสามารถปกป้องคุ้มครองได้จริงแล้ว..นั่นก็หมายความว่าส่วนพุทธคุณที่เป็นนามธรรมเหล่านี้ต้องมีอยู่จริงแต่ยังไม่สามารถจับต้องสัมผัสได้โดยง่ายด้วยตนเอง..ยกตัวอย่างนามธรรมดังคล้ายกับที่กล่าวมานี้ซึ่งได้แก่ประจุไฟฟ้า,แรงดึงดูด,แรงโน้มถ่วง,ความรู้สึกนึกคิด,พลังงานจิต,และเคยสงสัยมั๊ยทำไมคนโบราณเลี่ยมพระแขวนคอต้องเว้นช่องให้เป็นรูปหัวใจให้เนื้อพระสัมผัสกายเหตุเพราะนี่คือกุศโลบายให้เข้าถึงพลังพุทธคุณโดยตรงก็เฉกเช่นไฟฟ้าจากถ่านไฟฉายนั่นเอง..ฯลฯ)...บทความข้างต้นทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวเกิดจากสิ่งที่เห็นว่าถูกต้องและเชื่อถือได้(มีสิ่งที่เป็นเหตุจึงทำให้เกิดเป็นผลตามเหตุนั้นได้จริงตรงตามหลักธรรมะ)..แต่เผอิญถ้ามีคนค้นพบและยืนยันพิสูจน์ได้ว่าประวัติเรื่องราวการสร้างพระของสมเด็จโตท่านที่ปรากฏแก่สายตาของสาธารณะชนมาเนิ่นนานแล้วไม่ถูกต้องเป็นจริงก็ขออภัยไว้ณ.ที่นี้

    ตอบลบ