วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พระสมเด็จบางขุนพรหม


ดังที่ทราบโดยทั่วไปว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมฺรังษี) ได้สร้างพระสมเด็จวัดระฆังที่ดังและประมาณค่ามิ ได้ และยังเป็นหนึ่งในเบญจภาคีชุดใหญ่ โดยให้สมเด็จวัดระฆังเป็นจักรพรรดิ์พระเครื่อง โดยพุทธคุณมิต้องพูดถึงเพราะ ยอดเยี่ยมในทุกๆ ด้าน และยังเป็นที่ต้องการของประชาชนทั่วไป
และอีกวัดหนึ่งที่ท่านไปสร้างไว้ในจังหวัดอ่างทองคือ สมเด็จวัดเกษไชโย ท่านสร้างเพื่ออุทิศให้แก่บิดามารดาของท่านและเป็นที่นิยมมากเช่นกัน วัดที่สามดังจะกล่าวถึงต่อไปนี้ คือสมเด็จบางขุนพรหม ซึ่งเป็นพระเนื้อผงเช่นเดียวกับวัดระฆังและวัดไชโย

ประวัติการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม(วัดใหม่อมตรส)บางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร
เสมียนตราด้วง ท่านเป็นต้นสกุล ธนโกเศศ เป็นคหบดีผู้มั่งคั่งย่านบางขุนพรหม และจากหน้าประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ผู้ประติมากรรมพระสมเด็จวัดระฆัง อันมีค่านิยมสูงจนรั้งตำแหน่งราชาแห่งพระเครื่องมาโดยตลอดนั้น ท่านเสมียนตราด้วง ท่านได้ปวารณาตัวเป็นโยมอุปัฏฐากและรับใช้ใกล้ชิดในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ พระองค์นั้นอย่างเสมอต้นเสมอปลายตลอดมาทุกยุคทุกสมัย แต่ครั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังเป็นสามเณร และได้จำเริญสมณศักดิ์จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณสถาปนาเป็นที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ จนกระทั่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านชราภาพ ชนม์มายุได้ ๘๔ ปี จึงได้ลาจากสมณศักดิ์ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ ท่านได้จึงมาพักผ่อนและแสวงหาความสงบวิเวกอยู่ ณ ที่วัดบางขุนพรหม กำกับดูแลช่างเขียนภาพประวัติส่วนตัวของท่านและควบคุมช่างก่อสร้างพระศรีอริยเมตไตรย อีกด้วยวัดบางขุนพรหมในอดีตนั้นเป็นวัดที่มีอาณาเขตที่กว้างขวางมากวัดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านกลับมาพักผ่อนเป็นที่สำราญอารมณ์อยู่นั้น ได้มีชาวบ้านในย่านบางขุนพรหมได้นำเอาที่ดินอันเป็นเรือกสวนไร่นามาถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ แล้วรวมเป็นที่ดินของวัดบางขุนพรหม และเพื่อให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระหลวงพ่อโต เมื่อรวมที่ดินของวัดบางขุนพรหมแล้วมีอาณาเขตกว้างขวาง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือจดคลองเทเวศร์ ทิศตะวันออกถึงบ้านพานบ้านหล่อพระนครครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงพิจารณาเห็นความจำเป็นในการถมนาเพื่อความเจริญของบ้านเมือง จึงทรงมีพระราชดำริให้ตัดถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ผ่านกลางวัดบางขุนพรหม จึงทำให้วัดบางขุนพรหมต้องแยกออกเป็นสองวัด คือ วัดบางขุนพรหมใน หรือ วัดใหม่อมตรส ในปัจจุบัน และวัดบางขุนพรหมนอก คือวัดอินทรวิหาร อันเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) และเมื่อทางราชการได้ตัดถนนสามเสนก็ได้แบ่งที่ดินของวัดบางขุนพรหมออกไปอีกส่วนหนึ่ง

วัดบางขุนพรหมเป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นวัดที่สร้างอยู่บนที่ดอนห้อมล้อมไปด้วยเรือกสวนและไร่นา เข้าใจว่าเป็นวัดที่ประชาชนในละแวกนั้นช่วยกันสร้างและบูรณะสืบต่อๆ กันมา เมื่อปีจอ พุทธศักราช ๒๓๒๑ เจ้าอินทรวงศ์ราชโอรสในพระเจ้าธรรมเทววงศ์ ผู้ครองนครศรีสัตนาครหุตได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ในรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ต่อมาครั้นสร้างกรุงเทพมหานครเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ทว่าวัดบางขุนพรหมไม่เคยได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์เลยสักครั้งเดียว สิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้ปรักหักพังลง สืบต่อมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ เสมียนตราด้วง พร้อมกับชาวบ้านในย่านบางขุนพรหมและท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้ร่วมใจกันบริจาคจตุปัจจัยไทยธรรมจัดการสร้าง และซ่อมแซมวัดบางขุนพรหมขึ้นมาใหม่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

นอกจากนั้นแล้วยังได้จัดสร้างพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่ประดิษฐานไว้ที่หน้าวัดบางขุนพรหมเป็นพิเศษอีกด้วย เมื่อดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว การสร้างพระเจดีย์ครั้งนี้ มีการสร้างทั้งพระเจดีย์องค์ใหญ่ เพื่อบรรจุพระ ตามโบราณคติของการสร้างมหากุศล ในอันที่จะสืบทอดพระศาสนา และสร้างเจดีย์องค์เล็กเพื่อบรรจุอัฐิบรรพบุรุษ เมื่อก่อสร้างศาสนสถานเสร็จแล้ว เสมียนตราด้วง ได้เข้าไปกราบของอนุญาต สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นที่เคารพอย่างยิ่งของประชาชนในยุคนั้น ทำการสร้างพระเครื่องเพื่อบรรจุในพระเจดีย์องค์ใหญ่ ณ วัดใหม่อมตรส ที่ตนได้สร้างพึ่งแล้วเสร็จ

......สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ทรงประทานอนุญาต และมอบผงวิเศษ ที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของท่านส่วนหนึ่ง ไปเป็นส่วนผสมในการสร้างในครั้งนี้ และได้ทำการปลุกเสกพระที่สร้างขึ้นใหม่นี้ ตามคำอาราธนาของเสมียนตราด้วง จากนั้นจึงนำพระที่ผ่านการปลุกเสกโดยสมเด็จฯท่านทุกองค์ ไปบรรจุลงในเจดีย์องค์ใหญ่ .

.....สำหรับพระเนื้อผงที่สร้างในกิจครั้งนี้ เป็นพระเนื้อผงแก่ปูนขาว รูปทรงสี่เหลี่ยม ตามแบบของพระสมเด้จวัดระฆัง ที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ซึ่งเป็นการสร้างไปแจกไป หากแต่พระที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ เป็นพระที่สร้างขึ้นมาเพื่อบรรจุลงในกรุหรือเจดีย์ทั้งสิ้น โดยมีจำนวนการสร้าง ตามคตินิยมเท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ คือ ๘๔,๐๐๐ องค์ และได้มีการเรียกชื่อพระเครื่องดังกล่าวนี้ว่า พระสมเด็จบางขุนพรหม ต่อมาในชั้นหลัง ตามชื่อตำบลที่ตั้งของเจดีย์ซึ่งบรรจุลงในพระเจดีย์องค์ใหญ่

......อายุของพระสมเด็จบางขุนพรหมจึงไม่ห่างจากสมเด็จวัดระฆังมากนัก แต่เนื่องจากช่างผู้แกะพิมพ์พระ ต่างกลุ่มกันกับช่างผู้แกะพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง ดังนั้นพิมพ์ต่างๆของสมเด็จบางขุนพรหม จึงมีความแตกต่างจากสมเด็จวัดระฆัง แต่ด้วยช่างทั้ง ๒ กลุ่ม เป็นช่างยุคเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นสกุลช่างศิลปเดียวกัน และได้มีการสร้างที่อาศัยต้นแบบเค้าโครงเดียวกัน ดังนั้นพระเครื่องทั้งสองวัดจึงมีองค์ประกอบศิลปะที่สอดคล้องคล้ายคลึงกัน

......พระสมเด็จบางขุนพรหม ได้มีการจำแนกออกเป็นพิมพ์ใหญ่ๆ ได้ทั้งหมด ๙ พิมพ์คือ

1. พิมพ์ใหญ่




2. พิมพ์เส้นด้าย




3. พิมพ์ทรงเจดีย





4. พิมพ์เกศบัวตูม




5. พิมพ์ฐานแซม




6. พิมพ์สังฆาฎิ (จะมี2พิมพ์ ไม่มีหู กับมี)





7. พิมพ์อกครุฑ






8. พิมพ์ฐานคู่




9. พิมพ์ปรกโพธิ์



*พิมพ์ของ พระสมเด็จบางขุนพรหม ใ มีจำนวนพิมพ์มากกว่า สมเด็จวัดระฆัง 4 พิมพ์ คือ เส้นด้าย ฐานคู่ สังฆาฏิ และอกครุฑ*

พระสมเด็จบางขุนพรหม ได้ถูกเปิดกรุอย่างไม่เป็นทางการถึง ๓ ครั้ง

ครั้งแรก ในปี พ.ศ.๒๔๒๕

ครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖

ครั้งที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙

.....พระสมเด็จที่ได้มาจากกรุ ทั้ง ๓ ครั้งนี้ เราเรียกโดยรวมว่า
พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า .ซึ่งลักษณะของวรรณะ(ผิว) ขององค์พระที่เกลี้ยงเกลา มีคราบกรุจับอยู่น้อย เนื้อค่อนข้างหยาบกว่าพระที่ขุดในชั้นหลังเล็กน้อย และส่วนใหญ่จะไม่มีคราบฟู หรือเม็ดกรวดทรายจับอยู่บนองค์พระ
.....หลังจากทำการเปิดกรุในยุคแรกไปแล้ว ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้มีการลักลอบขุดเจาะเจดีย์ เพื่อนำพระออกมาอยู่ตลอดเวลา แม้จะมีมาตรการป้องกันจากทางวัด จนกระทั่งทางวัดใหม่อมตรสมีการประกาศเปิดกรุอย่างเป็นทางการ เพื่อนำพระออกมาจากพระเจดีย์ทั้งหมดโดยเชิญ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานในพิธีเปิดกรุดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๐ พระที่นำออกมาครั้งนี้เรียกว่า พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่

......พระที่ได้ในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อละเอียดแก่ปูน มีคราบกรุ และคราบเต้าหู้เกาะเป็นชั้นๆ จับหนา (ซึ่งคราบขี้กรุที่จับอยู่บนองค์พระเหล่านี้ เกิดจากความชื้นทำปฏิกิริยากับปูนขาว เกิดเป็นฟอสเฟตเกาะติดบนองค์พระ เนื่องจากพระที่พบ เป็นพระบรรจุอยู่ตรงส่วนฐานขององค์พระเจดีย์ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำท่วมขังอยู่เสอม นอกจากนี้การลักลอบนำพระออกจากกรุวิธีหนึ่ง คือการเทน้ำลงในเจดีย์ที่บรรจุพระ เพื่อให้แรงน้ำที่เขาเทลงไป ทำให้พระกระเด็นขึ้นมาติดสายเบ็ดที่ปลายมีดินเหนียว แล้วนำพระขึ้นมาจากกรุ แต่ทิ้งน้ำไว้ในกรุ จนส่งผลให้พระที่เหลือเปียกชื้นแฉะจนเกิดมีคราบจับหนา พระจำนวนมากที่เกาะติดกันเป็นก้อนไม่สามารถแกะออกจากกันได้ และจำนวนไม่น้อยที่หักเสียหาย จากการกระทำดังกล่าว คงเหลือพระที่มีสภาพดีโดยประมาณ ๓,๐๐๐ องค์) ติดสนิทแน่นเป็นเนื้อเดียวกับองค์พระและทางวัดได้นำพระออกให้บูชา เพื่อหารายได้มาบูรณะวัดฯ โดยมีอัตราทำบุญตั้งแต่ ๕๐๐ - ๒,๐๐๐ บาท ตามสภาพพระ ซึ่งนับว่ามีราคาสูงมากในยุคนั้น
......พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองจากพระสมเด็จวัดระฆัง ในตระกูลพระสมเด็จทั้งสามวัด ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ได้มีส่วนสำคัญในการสร้าง ซึ่งพระสมเด็จทั้งสามวัดนี้ ล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมสูงมาก มีราคาแพง หายาก และได้รับความศรัทธาจากประชาชนว่ามีพุทธานุภาพศักดิ์สิทธิ์ ไม่น้อยไปกว่ากัน ที่มีพุทธคุณสูงทางเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดนิรันตราย และหลายคนยังเชื่อส่วนตัวว่า นำพระมาขูดผงผสมดื่ม สามารถรักษาโรคต่างฯ ได้เป็นอย่างดี พระมหาเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหม ตอนเปิดกรุ ได้พบ พิมพ์แบบเดียววัดระฆังเนื้อหาวัดระฆังแต่มีคราบกรุจึงเรียก พระสองคลอง และมีการนำชิ้นส่วนที่แตกหักมาสร้างเป็น สมเด็จปี09

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พระสมเด็จจิตรลดา



พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน (หรืออาจเรียกว่า สมเด็จจิตรลดา, พระจิตรลดา)
เป็น พระเครื่อง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2513 มีทั้งสิ้นประมาณ 2500 องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มีเอกสารส่วนพระองค์ (ใบกำกับพระ) ซึ่งแสดงชื่อ นามสกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์ และภาพ พระสมเด็จ จิตรลดา (เป็นภาพพระของเพื่อนคนหนึ่งคนใดที่ได้รับพระราชทานในคราวเดียวกัน) โดยทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมาแล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ" ดังเช่นในเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์ความฝันอันสูงสุด ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเมื่อ พ.ศ. 2514



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบ พระสมเด็จ จิตรลดา ด้วยพระองค์เอง โดยศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย


ข้อมูลจำเพาะ


พระสมเด็จจิตรลดา เป็น พระเครื่อง ทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขอบองค์พระด้านหน้าทั้ง 3 ด้าน เฉียงป้านออกสู่ด้านหลังเล็กน้อย มี 2 ขนาดพิมพ์ คือ



พิมพ์เล็ก กว้าง 1.4 เซนติเมตร สูง 2.1 เซนติเมตร หนา 0.5 เซนติเมตร



พิมพ์ใหญ่ กว้าง 2.2 เซนติเมตร สูง 3.2 เซนติเมตร หนา 0.5 - 1 เซนติเมตร



พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระปางสมาธิ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พระพักตร์ทรงผลมะตูม องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ ประทับนั่งเหนือบัลลังก์ดอกบัว ประกอบด้วย กลีบบัวบานทั้ง 9 กลีบ และเกสรดอกบัว อยู่ในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีลักษณะละม้ายคล้ายกับพระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานประจำทุกจังหวัดและหน่วยทหาร แต่ต่างกันที่ พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระปางมารวิชัย



พระสมเด็จจิตรลดา มีหลายสี ตามรุ่นที่ผลิต ได้แก่ สีน้ำตาล สีน้ำตาล-อมเหลือง สีน้ำตาล-อมแดงคล้ายเทียน สีดำอมแดง หรือ สีดำอมเขียว มีทั้งสีเข้มและอ่อน



ส่วนประกอบพระสมเด็จจิตรลดามวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา ประกอบด้วยเรซิน และผงพระพิมพ์ โดยทรงนำมาบดเป็นผง รวมกับเส้นพระเจ้า คลุกกับกาวเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกดเป็นองค์พระด้วยพระหัตถ์ โดยทรงใช้เวลาตอนดึกหลังทรงงาน มีเจ้าพนักงาน 1 คน คอยถวายพระสุธารส และหยิบสิ่งของถวาย


ผงพระพิมพ์ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ


ส่วนที่ 1 ส่วนในพระองค์ ประกอบด้วย ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระตลอดเทศกาล เส้นพระเจ้า ซึ่งเจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากทรง พระเครื่อง ใหญ่ทุกครั้ง ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล สี ซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์ ชันและสี ซึ่งทรงขูดจากเรือใบไมโครมด เป็นเรือใบพระที่นั่งขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่ง


ส่วนที่ 2 วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ประกอบด้วย วัตถุที่ได้มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัด ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาพระแก้วมรกต ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาจากพระอารามหลวงที่สำคัญ ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกาซึ่งสมณทูตได้ถวายเก็บไว้ในเจดีย์ที่วัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากทุกจังหวัดในประเทศไทย เช่น จากพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ น้ำจากบ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และ น้ำอภิเษก

แหล่งของผงพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา


มวลสารทุกจังหวัด
เมื่อปี พุทธศักราช 2508 ประเทศไทย มี 71 จังหวัด ดังนี้


พระนคร (ปัจจุบันคือกรุงเทพมหานคร) ได้แก่ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ธนบุรี (ปัจจุบันคือกรุงเทพมหานคร) ได้แก่ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


พระนครศรีอยุธยา ได้แก่ วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา วัดพนัญเชิง วัดสวนหลวงสบสวรรค์ วิหารพระมงคลบพิตร


ลพบุรี ได้แก่ ศาลพระกาฬ ศาลลูกศร (ปัจจุบันคือ ศาลหลักเมืองลพบุรี ) พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท


สิงห์บุรี ได้แก่ วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดโพธิ์เก้าต้น (บ้านบางระจัน) วัดสิงห์ (ปัจจุบันชื่อ วัดสิงห์สุทธาวาสตำบลโพสังโฆ อำเภอค่ายบางระจัน) พระนอนจักรสีห์ วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร (ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี)


อ่างทอง ได้แก่ วัดไชโยวรวิหาร (ตำบลไชโย อำเภอไชโย)


สระบุรี ได้แก่ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร วัดพระพุทธฉาย (อำเภอพระพุทธบาท)


ปทุมธานี ได้แก่ วัดเสด็จ (เดิมชื่อ วัดสร้อยทอง อำเภอเมืองปทุมธานี) ผงอิทธิเจและผงปถมํของพระครูสาทรพัฒนกิจ (วัดเสด็จ ตำบลสวนพริกไทย อำเภอเมืองปทุมธานี)


นนทบุรี ได้แก่ วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร


สมุทรปราการ ได้แก่ วัดพระสมุทรเจดีย์ ศาลหลักเมืองสมุทรปราการ


ราชบุรี ได้แก่ วัดมหาธาตุ (อำเภอเมืองราชบุรี)


นครปฐม ได้แก่ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร


สุพรรณบุรี ได้แก่ วัดป่าเลไลยก์ ศาลหลักเมืองสุพรรณบุรี พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ วัดสนามชัย (ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี) สระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ (ตำบลสระแก้ว)


กาญจนบุรี ได้แก่ วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร อำเภอท่ามะกา วัดท่ากระดาน (อำเภอศรีสวัสดิ์)


เพชรบุรี ได้แก่ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระนครคีรี พระธาตุจอมเพชร ศาลหลักเมืองเพชรบุรีหลังเก่า พระปรางค์วัดมหาธาตุ


ประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ พระบรมสารีริกธาตุบนยอดเขาช่องกระจก วัดเขาช่องกระจก ปัจจุบันชื่อ วัดธรรมมิการามวรวิหาร


สมุทรสาคร ได้แก่ ศาลหลักเมืองสมุทรสาคร ศาลพันท้ายนรสิงห์


สมุทรสงคราม ได้แก่ วัดเพชรสมุทร (เดิมชื่อวัดบ้านแหลม)


อุทัยธานี ได้แก่ วัดสังกัสรัตนคีรี (อำเภอเมืองอุทัยธานี)


ชัยนาท ได้แก่ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร (ตำบลชัยนาท) วัดธรรมามูล ปัจจุบันชื่อ วัดธรรมามูลวรวิหาร)


ชลบุรี ได้แก่ พระพุทธรูปพระพุทธสิหิงค์จำลอง วัดป่า จังหวัดชลบุรี (ปัจจุบันชื่อ วัดอรัญญิกาวาส)


ฉะเชิงเทรา ได้แก่ พระพุทธรูปพระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา


ระยอง ได้แก่ ศาลหลักเมืองระยอง ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


ตราด ได้แก่ ศาลหลักเมืองตราด วัดบุปผาราม


จันทบุรี ได้แก่ ศาลหลักเมืองจันทบุรี ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระพุทธบาทเขาคิชกูฏ น้ำในคลองนารายณ์บริเวณหน้าน้ำตกเขาสระบาป คลองสระบาป (อำเภอเมืองจันทบุรี) น้ำจากสระแก้ว (ตำบลพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่)


นครนายก ได้แก่ ศาลหลักเมืองนครนายก พระพุทธบาทจำลอง วัดเขานางบวช (ตำบลสาริกา)


ปราจีนบุรี ได้แก่ วัดต้นศรีมหาโพธิ์ (อำเภอศรีมหาโพธิ์)


ลำปาง ได้แก่ วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดพระแก้วดอนเต้า (เดิมชื่อ วัดพระธาตุดอนเต้า ปัจจุบันชื่อ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ) วัดพระธาตุเสด็จ ศาลหลักเมืองลำปาง ศาลเจ้าพ่อประตูผา ศาลเจ้าพ่อหมอก


แม่ฮ่องสอน ได้แก่ พระธาตุดอยกองมู


เชียงราย ได้แก่ วัดพระธาตุดอยตุงปัจจุบันชื่อ วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) (อำเภอแม่สาย) วัดพระธาตุจอมกิตติ


เชียงใหม่ ได้แก่ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร (อำเภอจอมทอง) พระธาตุดอยสุเทพ พระพุทธสิหิงค์ ศาลหลักเมืองเชียงใหม่ วัดเจดีย์เจ็ดยอด (ปัจจุบันชื่อ วัดโพธารามมหาวิหาร) ที่ตั้งค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (อำเภอฝาง) อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย


น่าน ได้แก่ พระเจ้าทองทิพย์ (พระพุทธรูป) วัดสวนตาล พระธาตุแช่แห้ง พระธาตุเขาน้อย


ลำพูน ได้แก่ วัดพระบรมธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร วัดจามเทวี (เดิมชื่อ วัดกู่กุด)


แพร่ ได้แก่ ศาลหลักเมืองแพร่ พระธาตุช่อแฮ พระธาตุปูแจ พระธาตุจอมแจ้ง วัดพระธาตุจอมแจ้ง (อำเภอเมืองแพร่)


ตาก อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


พิษณุโลก ได้แก่ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร


สุโขทัย ได้แก่ วัดมหาธาตุ (อำเภอเมืองสุโขทัย) พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร น้ำบ่อทอง น้ำบ่อแก้ว อำเภอศรีสัชนาลัย วัดต้นจันทร์ (ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย)


กำแพงเพชร ได้แก่ วัดพระบรมธาตุ (ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร)


พิจิตร ได้แก่ พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง


เพชรบูรณ์ ได้แก่ วัดไตรภูมิ ศาลหลักเมืองเพชรบูรณ์


นครสวรรค์ ได้แก่ วัดวรนาถบรรพต (วัดเขากบ)


อุตรดิตถ์ ได้แก่ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ (เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ อุตรดิตถ์ ตั้งอยู่บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล) วัดพระบรมธาตุ วัดท่าถนน (พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร)


นครราชสีมา ได้แก่ ศาลหลักเมืองนครราชสีมา อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ปราสาทหินพิมาย วัดศาลาทอง วัดพนมวันท์ ปราสาทหินพนมวัน ศาลเจ้าแม่บุ่งตาหลัว ศาลเจ้าพ่อไฟ ศาลเจ้าพ่อวัดแจ้ง ศาลเจ้าพ่อพระยาสี่เขี้ยว


ชัยภูมิ ได้แก่ พระปรางค์กู่ พระธาตุกุดจอก (อำเภอเกษตรสมบูรณ์) พระธาตุหนองสามหมื่น (อำเภอภูเขียว) พระพุทธรูปพระเจ้าองค์ตื้อ เขาภูพระ วัดศิลาอาส์น (ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง) เจ้าพ่อพญาแล (อำเภอเมือง)


บุรีรัมย์ ได้แก่ ปราสาทเขาพนมรุ้ง (อำเภอประโคนชัย) ปราสาทเมืองต่ำ (อำเภอประโคนชัย) ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ ศาลเทพารักษ์ เจ้าพ่อวังกรูด (อำเภอสตึก)


สุรินทร์ ได้แก่ พระพุทธรูปหลวงพ่อพระชีว์ วัดบูรพาราม


ศรีสะเกษ ได้แก่ วัดมหาพุทธาราม ศาลหลักเมืองศรีสะเกษ


อุบลราชธานี ได้แก่ วัดมหาวนาราม พระเจ้าอินทร์แปลง (พระพุทธรูป)


อุดรธานี ได้แก่ ศาลเทพารักษ์ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ศาลหลักเมืองอุดรธานี วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดอุดรธานี


หนองคาย ได้แก่ พระธาตุบังพวน พระพุทธรูปหลวงพ่อใส วัดโพธิ์ชัย เลย ได้แก่ พระธาตุศรีสองรักษ์


สกลนคร ได้แก่ พระธาตุเชิงชุม วัดพระธาตุเชิงชุม


นครพนม ได้แก่ พระธาตุพนม ศาลหลักเมืองนครพนม


ขอนแก่น ได้แก่ พระธาตุขามแก่น (ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง)


มหาสารคาม ได้แก่ ศาลหลักเมืองมหาสารคาม


ร้อยเอ็ด ได้แก่ ปรางค์กู่ (อำเภอธวัชบุรี)


กาฬสินธุ์ ได้แก่ ศาลหลักเมืองกาฬสินธุ์


ชุมพร ได้แก่ ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หาดทรายรี


นครศรีธรรมราช ได้แก่ พระบรมธาตุ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร


สุราษฎร์ธานี ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา


ระนอง ได้แก่ วัดอุปนันทาราม (เดิมชื่อ วัดด่าน)


กระบี่ ได้แก่ ถ้ำพระ เขาขนาบน้ำ (ตำบลไสไทย อำเภอเมืองกระบี่)


พังงา ได้แก่ ศาลหลักเมืองพังงา เทวรูปพระนารายณ์ วัดนารายณิการาม (ตำบลเหล อำเภอกะปง)


ภูเก็ต ได้แก่ พระพุทธบาท เกาะแก้ว หน้าหาดราไว วัดพระทอง (เดิมชื่อ วัดพระผุด) (อำเภอถลาง) อนุสาวรีย์พระสงฆ์หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง (ปัจจุบันชื่อ วัดไชยธาราราม)


สงขลา ได้แก่ วัดชัยมงคล วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา (เดิมชื่อ วัดเลียบ) วัดพะโคะ (ปัจจุบันชื่อ วัดราชประดิษฐาน) (อำเภอสทิงพระ) ศาลหลักเมืองสงขลา


ตรัง ได้แก่ วัดถ้ำเขาสาย (ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด) วัดถ้ำคีรีวิหาร (ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด) พระพุทธรูปพระว่านศักดิ์สิทธิ์ วัดถ้ำพระพุทธ (ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฎา)


พัทลุง ได้แก่ พระธาตุ วัดแตระ วัดเขียนบางแก้ว (อำเภอเขาชัยสน)


สตูล ได้แก่ วัดชนาธิปเฉลิม (เดิมชื่อ วัดมำบัง) วัดสตูลสันตยาราม (ตำบลพิมาน) วัดหน้าเมือง (ตำบลคลองขุด) วัดดุลยาราม (ตำบลฉลุง)


ปัตตานี ได้แก่ ศาลหลักเมืองปัตตานี วัดช้างให้ ปัจจุบันชื่อ วัดราษฎร์บูรณะ (อำเภอโคกโพธิ์)


ยะลา ได้แก่ วัดคูหาภิมุข ศาลหลักเมืองยะลา


นราธิวาส ได้แก่ วัดพระพุทธ (อำเภอตากใบ)


พระสมเด็จจิตรลดา สำหรับเด็กพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทำพระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์เล็ก สำหรับพระราชทานให้เด็ก มีทั้งสิ้นประมาณ 40 องค์ โดยสี่องค์แรก พระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ทั้งสี่พระองค์

พระสมเด็จจิตรลดา




พระสมเด็จจิตรลดา พระกำลังแผ่นดิน



ประวัติพระสมเด็จจิตรลดา
ณ ชั่วโมงนี้ พระสมเด็จจิตรดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน ถือว่าเป็นพระที่หายาก พอๆ กับพระชุดเบญจภาคี

ด้วยความหายากนี้เอง ส่งผลให้ราคา เช่าชื้อล่าสุดสูงถึง ๑.๖ ล้านบาท นอกจากนี้แล้ว ใบกำกับพระ ก็มีการซื้อขายด้วย ในราคา ๗๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป หากถ้าเช่าทั้งพระ และใบรับรอง ราคาก็จะสูงขึ้นไปอีก




อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นพระเครื่องที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้าง แต่มิวายยังมีผู้ที่ไม่กลัวบาปกรรม กล้าทำของปลอมออกมาจำนวนมาก ซึ่งน่าจะเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะเป็นการแอบอ้างว่า เป็นพระของในหลวง ซึ่งถ้าเจอวางให้เช่าบูชาทั่วๆ ไป ให้เชื่อไว้ก่อนว่า เป็นพระเลียนแบบ หรือ พระปลอม นั่นเอง

พระสมเด็จจิตรดา มีการไหลเวียนในตลาดค่อนข้างน้อยมาก แต่มีพระปลอมมากถึง ๙๐%

สำหรับความเป็นมาของ พระสมเด็จจิตรลดา นั้น ถือว่าเป็นพระพุทธรูปพิมพ์องค์เดียวที่สร้างในเมืองไทย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้สร้าง แต่ไม่ได้มีพิธีพุทธาภิเษก เหมือนเช่น พระเครื่อง เหรียญ หรือวัตถุมงคลอื่นๆ ที่จะต้องผ่านพิธีพุทธภิเษกเสียก่อน เพื่อให้มีพุทธานุภาพ โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังจากวัดต่างๆ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอธิษฐานพระบุญญาบารมีของพระองค์ท่าน ความมีศรัทธาปสาทะอย่างสุดซึ้ง ในพระบวรพุทธศาสนา และผลบุญกุศลที่พระองค์ทรง ตั้งมั่นอยู่ในการประกอบแต่กรรมดี ทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ ช่วยดลบันดาลให้พระพุทธรูปพิมพ์ ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นนั้นสูงสุดด้วยพระพุทธานุภาพ และกฤตยานุภาพ คุ้มครองให้คลาดแคล้วผองภัยพิบัติ อำนวยความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้ได้นำไปบูชา ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา และประกอบแต่กรรมดี และอัญเชิญพระพุทธคุณด้วยพระราชหฤทัยอันมั่นคงในทศพิธราชธรรม ให้อยู่อย่างมั่นคงกับพระพุทธรูปพิมพ์องค์นี้

ทุกครั้งที่ทรงเทพิมพ์ด้วยพระหัตถ์ ในยามดึกสงัดเพียงลำพังพระองค์เดียว มีเพียงเจ้าพนักงาน ๑ คน ที่คอยถวายสุธารส และคอยหยิบสิ่งของต่างๆ ถวายตามพระราชประสงค์ การผสมผงวัตถุมงคลจะทรงผสมให้พอดีที่จะพิมพ์ให้หมด ในแต่ละครั้งเท่านั้น

ขณะเดียวกัน ทุกครั้งที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระพิมพ์นี้ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะมีพระราชกระแสรับสั่ง ให้ผู้รับพระราชทาน จงประพฤติปฏิบัติคุณงามความดีอยู่ในศีลธรรม และยึดมั่นในอำนาจแห่งพระพุทธคุณ ทรงกำชับให้เอาทองเปลวปิด ที่ด้านหลังขององค์พระก่อนนำไปบูชา

ขณะปิดทองให้ตั้งจิตเป็นสมาธิ อธิษฐาน ขอให้ความดีงามที่มีอยู่ในตัว จงดำรงอยู่ต่อไป และขอให้ยังความเป็นสิริมงคล จงบังเกิดแก่ตัวยิ่งขึ้น อีกทั้งให้ประสบแต่ความสุขความเจริญในทางที่ดีงาม

การปิดทองด้านหลังองค์พระ คงเป็นเคล็ดบางอย่างที่ทรงมีพระราชดำริ ในการที่จะทรงปลูกฝังนิสัยให้ผู้รับพระราชทาน นำไปคิดเป็นทำนองว่า การที่บุคคลใดจะทำกุศลหรือ ประโยชน์สาธารณะใดๆ พึงมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยแท้จริง มิได้หวังลาภยศ ชื่อเสียงทำนองคติโบราณที่ว่า "ปิดทองหลังพระ"

พระพุทธรูปพิมพ์องค์นี้ ผู้รับพระราชทานได้ขนานนามกันเป็นภายในว่า "สมเด็จจิตรลดา"

ส่วนคำว่า "พระกำลังแผ่นดิน" นั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้ขนานพระนามตามพระนามของพระองค์ท่านคือ "ภูมิพล" คำว่า "ภูมิ" แปลว่า "แผ่นดิน" คำว่า "พล" แปลว่า "กำลัง" จึงเป็นที่มาของพระนามองค์พระ "สมเด็จจิตรลดา" อีกพระนามหนึ่งว่า "พระกำลังแผ่นดิน"

พระสมเด็จจิตรลดา จะพระราชทานให้แก่เฉพาะข้าราชบริพาร ข้าราชการหลายระดับ แต่ทราบกันภายในว่า ไม่ทรงโปรดให้เป็นข่าวแพร่สะพัด ผู้ที่ได้รับพระราชทานส่วนใหญ่ถือเป็น "ของดีของสูง" และเป็น "ส่วนพระองค์" โดยแท้ จึงไม่มีใครกล้าปริปากบอกใครต่อ

ต่อเมื่อความศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธคุณของ สมเด็จจิตรลดา ได้ปรากฏออกมา ความดังนั้นก็เก็บไม่อยู่ พสกนิกรของพระองค์อีกจำนวนมาก ต่างก็กราบบังคมทูลขอพระราชทานอย่างไม่ขาด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สร้างขึ้นอีกจำนวนมาก นับเป็นพันๆ องค์ พระองค์ได้พระราชทานให้กับพสกนิกรผู้ประกอบแต่กรรมดี โดยมิได้เลือกชั้น วรรณะ

นับตั้งแต่นักการเมือง นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ลงมาถึงระดับคนขับรถ คนทำสวน แม่ครัว และบรรดาข้าราชการทหารที่ออกไปร่วมรบในสมรภูมิต่างๆ เช่น เวียดนาม และลาว ผู้บังคับบัญชาในระดับสูง จะทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานให้แก่นายทหาร ตั้งแต่ชั้นสัญญาบัตร ลงมาถึงนายทหารชั้นผู้น้อย ในจำนวนที่ไม่มากนัก ซึ่งจะทรงมีพระราชวินิจฉัยด้วยพระองค์เองว่า จะมีพระบรมราชานุญาตหรือไม่ จำนวนเท่าใด แต่การขอพระราชทานจะต้องขอพระราชทานต่อพระองค์เท่านั้น จะไม่พระราชทานให้ผู้ใดที่ไม่ได้ขอพระราชทาน

พระสมเด็จจิตรลดา ทุกองค์ จะได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจะมี ใบพระราชทาน (ใบกำกับพระพิมพ์) ขนาดกว้างประมาณ ๑๒.๗ ซม. ยาว ๑๕.๘ ซม. พื้นสีขาว ด้านบนมีภาพพิมพ์องค์ พระสมเด็จจิตรลดา ประกอบอยู่ แต่ไม่ใช่องค์ที่พระราชทานให้ ขนาดจะใหญ่กว่าองค์พระจริงเล็กน้อย สีน้ำตาลเข้ม เป็นเอกสารส่วนพระองค์

เอกสารสำคัญฉบับนี้ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะแจ้งให้มารับภายหลัง จากวันที่ได้รับพระราชทานองค์พระ โดยไม่มีหมายกำหนดที่แน่นอน

อย่างไรก็ตาม มีการประมาณการว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้าง พระสมเด็จจิตรลดา พระพุทธรูปพิมพ์ไม่มากไปกว่า สามพันองค์ เนื่องจากแพทย์หลวงได้ทูลเกล้าฯ ถวายคำแนะนำว่า พระองค์ทรงแพ้สารเคมีและผงฝุ่นบางชนิดในส่วนผมขององค์พระ ทำให้พระองค์ทรงพระประชวรด้วยพระโรคทางเดินหายใจบ่อยครั้ง ในช่วงหลังๆ

อีกทั้งพระองค์ท่านทรงไม่อยากเห็นพสกนิกรผู้ปรารถนาในพระพุทธรูปพิมพ์ของพระองค์อีกจำนวนมาก จะต้องสิ้นทรัพย์มากเป็นหมื่นๆ อย่างขาดสติ เป็นเหยื่อของคนสิ้นคิด ซึ่งแอบทำพระพุทธรูปพิมพ์นี้ปลอมกันออกมามาก ในระยะนั้น

ดังนั้นในราวปลายปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ จึงไม่ได้ทรงสร้างพระพุทธรูปพิมพ์นี้ โดยพระหัตถ์ของพระองค์เองอีกเลย

สำหรับความเป็นมาของการสร้าง พระสมเด็จจิตรลดา นั้น ในช่วงเวลาก่อนที่จะทรงมีพระราชดำริให้สร้าง พุทธนวราชบพิตร ในราวปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการกองหัตถศิลป กรมศิลปากร เข้ามาเป็นผู้แกะแม่พิมพ์พระพุทธรูปพิมพ์นี้ ในพระราชฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และได้ทรงตรวจพระพุทธศิลปฯ ของพระพุทธรูปพิมพ์องค์นี้ จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย

พระพุทธรูปพิมพ์ ที่แกะถวายนั้น เป็น พระพุทธรูปพิมพ์นั่งปางสมาธิแบบขัดราบ พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ประทับเหนือดอกบัวบานบน ๕ กลีบ ล่าง ๔ กลีบ รวมเป็น ๙ กลีบ รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขนาดกว้าง ๒ ซม. สูง ๓ ซม.และองค์เล็กขนาดกว้าง ๑.๒ ซม. สูง ๑.๙ ซม.

พระองค์ได้ทรงสร้างขึ้นด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง โดยทรงใช้เวลาหลังจากทรงพระอักษร และทรงงานอันเป็นพระราชภารกิจในตอนดึก ประกอบด้วยผงมงคลอันศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั้งส่วนในพระองค์ และวัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ที่พุทธศาสนิกชนทั่วพระราชอาณาจักร ปฏิบัติบูชาสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน

ขอขอบคุณ คุณประมุข ไชยวรรณ ผู้จัดทำ หนังสือพระพิมพ์จิตรลดา พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ขององค์ประมุขของชาติ ซึ่งเป็นหนังสือที่มีคุณค่าต่อวงการ และผู้ศึกษาพระเครื่องเป็นอย่างยิ่ง มีความสมบูรณ์ทั้งภาพและเนื้อหา... หนังสือเล่มนี้นับเป็นหนังสือหายากอีกเล่มหนึ่ง

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พระรอด วัดมหาวัน ลำพูน


พุทธลักษณะ
พระรอด เป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง และมีผ้านิสีทนะ (ผ้านั่งปู) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่า ใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้ว พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร (ตา) พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ (บ่าหรือไหล่) ทั้งสองข้าง ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง แบ่งลักษณะ แบบได้ 5 พิมพ์ทรง คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้นนั้น มีลักษณะจุดตำหนิโดยรวมที่เป็นสัญลักษณ์ปรากฏทุกพิมพ์ ในพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก เริ่มจากด้านบนของทั้งสามพิมพ์มีจุดโพธิ์ติ่ง ทั้งสามพิมพ์นี้มี 3 ใบ ปรากฏที่เหนือปลายเกศ และด้านข้างพระเศียร 2 ใบ กลุ่มใบโพธิ์แถวนอกจะใหญ่กว่าแถวใน และโพธิ์คู่ทั้ง 3 พิมพ์นี้มีระดับสูงเกือบเสมอกัน เส้นรอยพิมพ์แตกมีเฉพาะพิมพ์ใหญ่เท่านั้น มีรูปคล้ายตัวหนอนปรากฏเส้นข้างพระกรรณด้านซ้ายขององค์พระ เหนือเข่าด้านซ้ายขององค์พระมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นนูนเล็กมาวาดจากใต้ข้อศอกพระรอดใต้ฐานชั้นบน เฉพาะพิมพ์ใหญ่มีฐาน 4 ชั้น พิมพ์กลาง เล็ก ต้อ ตื้น มีฐาน 3 ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ตื้นมีเนื้อดินยื่นจากใต้ฐานล่างที่สุดเรียกว่า ฐาน 2 ชั้น พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อไม่มี กลุ่มโพธิ์แถวนอกของทุกพิมพ์จะคล้าย ๆ กันเพราะทำมาจากช่างคนเดียวกัน นอกจากนั้นพิมพ์ต้อกับพิมพ์ตื้นกลับไม่ค่อยมีใบโพธิ์ในพิมพ์ตื้นมีพื้นผนังโพธิ์แถวใน ใบโพธิ์ติดชิดกับองค์พระแล้วลาดเอียงลงที่กลุ่มโพธิ์แถวนอก ตรงแสกหน้ามีรอยพิมพ์แตกเป็นจุดสังเกต ในพิมพ์ต้อไม่ปรากฏโพธิ์แถวใน พื้นผิวติดองค์พระสูงลาดเอียงลงมา ที่กลุ่มโพธิ์แถวนอกเฉพาะตรงปลายเส้น ชี้นูนสูงที่สุดเป็นจุดสำคัญ นอกจากนี้ประการสำคัญที่สุดของพระรอด ที่ของปลอมจะทำเลียนแบบได้ยากคือ การจำรูปแบบพิมพ์ทรง และความเก่าของเนื้อเฉพาะพิมพ์ใหญ่จะปรากฏพระโอษฐ์ (ปาก) เม้มจู๋คล้ายปากปลากัด มีรอยหยักพับที่ริมฝีปากบนชัดเจนมาก เป็นจุดลับที่ควรสังเกตไว้ และกลุ่มโพธิ์แถวนอกของพิมพ์ใหญ่ด้านซ้าย ขององค์พระ มีระดับลาดเอียงเห็นได้ชัดเจนมาก เป็นจุดสังเกตที่ของปลอมจะทำได้ยาก สามารถแบ่งได้ 5 พิมพ์

1. พิมพ์ใหญ่


2. พิมพ์กลาง


3. พิมพ์เล็ก


4. พิมพ์ต้อ


5. พิมพ์ตื้น

นอกจากนี้ยังมีสีสันและวรรณะต่างๆของพระรอด ซึ่งมีอยู่ ๖ สีด้วยกันคือ

1. สีเขียว

2. สีพิกุล (สีเหลือง)

3. สีแดง

4. สีเขียวคราบเหลือง

5. สีเขียวคราบแดง

6. สีเขียวหินครก

สำหรับสีของพระรอดทั้ง 6 สี นี้เป็นสีของพระรอดทุกพิมพ์ทั้ง 5 พิมพ์จะมีสีสันวรรณะแตกต่างกันไป ตามสีทั้ง 6 และนอกเหนือจากทั้งสี 6 สี นี้พระรอดจะไม่มีสีอื่นๆ ไปโดยเด็ดขาด

นอกจากนี้พระรอดทุกพิมพ์ (ทั้ง 5 พิมพ์) พระกรรณ หรือใบหูของพระองค์ จะต้องติดชัดทุกพิมพ์ และฝ่าพระหัตต์ด้านขวา ที่วางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) ด้านขวาจะต้องมี 6 พิมพ์ และทุกองค์ โดยเฉพาะองค์ที่มีความคมชัดจะเห็นได้ชัดเจน

พระรอดวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่

พระรอดพิมพ์นี้ต้องเรียกว่าพิมพ์ใหญ่ ก็เพราะว่า ลักษณะขององค์พระจะมีฐาน 4 ชั้น ซึ่งมีมากกว่าพระรอดพิมพ์อื่นๆ (ที่มีเพียง 3 ชั้นเท่านั้น) ดั้งนั้นถ้าพระรอดมีฐาน 4 ชั้นก็จะต้องเป็นพระรอดพิมพ์ใหญ่เท่านั้น ซึ่งฐาน 4 ชั้น ของพระรอดพิมพ์ใหญ่จะต้องปประกอบด้วย ฐานชั้นที่ 1, ชั้นที่ 2, ชั้นที่ 3, และชั้นที่ 4 โดยฐานชั้นที่ 3 และชั้นที 4 จะติดกัน ส่วนด้านล่างสุด เป็นเนื้อเกินที่ล้นพิมพ์ และจะกดพับขึ้นมาชนกับฐานชั้นที่ 4 นอกจากนี้ยังมีแอกลักษณ์ ที่เป็นพระพิมพ์ใหญ่อีก ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป และจะได้พิจารณาถึงเอกลักษณ์ที่เป็นพิมพ์ใหญ่ ซึ่งเป็นหลักในการพิจารณาพิมพ์ของพระรอดพิมพ์ใหญ่ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระรอด1.พระเกศ และพระเมาลีคล้ายฝาชี2.พระพักตร์สอบเสี้ยม องค์ติดชัดๆพระเนตรโปนโต พระนาสิกสั้นโต พระโอษฐ์เจ่อ3.มีเส้นแตกพาดเฉียงจากพระเนตร มาชนใบโพธิ์4.ปลายพระกรรณ ซ้ายมือองค์พระ จะแหลมเป็นตัววี5.พระพิมพ์ใหญ่โดยมากจะมีขอบปีกพระ6.นิ้วหัวแม่มือขวา องค์พระจะขาด ส่วนปลายนิ้ว 4 นิ้วที่เหลือมักติดชัด7.แขนซ้ายองค์พระแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางมักเห็นเป็นกล้าม8.เส้นน้ำตกใต้แขนซ้ายองค์พระ มาโผล่ที่ใต้เข่าอีกจุด และในร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุด อาจมีเส้นน้ำตกแผ่วๆ ในแนวเดียวกัน 9. ร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุดจะมีเส้นแซมบางๆหนึ่งเส้น10. ฐานอาสนะชั้นล่างสุด มี 3 ชั้น ชั้น 2 และ 3 บางทีติดกันโดยมีร่องตื้นๆ คั่นกลาง 11. ก้นฐานพระมีรอยบี้และมีรอยนิ้วมือติดอยู่ เกิดจากตอนดันพระออกจากพิมพ์ เป็นแบบนี้ทุกองค์12. ต้นแขนขวาองค์พระค่อกเล็กน้อย คล้ายพระคง แต่อาการน้อยกว่า13. พระพิมพ์ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเห็นปลายพระบาทซ้ายองค์พระคล้ายหัวงูมีร่องปากเล็กๆ ปรากฏ


พระรอด วัดมหาวัน ลำพูน


พระรอด เป็นนามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือ พระฤาษี “นารทะ” หรือพระฤาษี “นารอด” พระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ พระ “รอดหลวง” ในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนามจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน

พระรอดมีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่สืบทราบมาได้จากการบันทึกไว้ ของท่านอธิการทา เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้น และอาจารย์บุญธรรม วัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ว่าในปี พ.ศ. 2435 พระเจดีย์วัดมหาวันได้ชำรุดและพังทลายลงบางส่วน ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร ทางวัดได้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ ในครั้งนั้นได้พบพระรอดภายในกรุเจดีย์มากที่สุด พระรอดมีลักษณะของผนังใบโพธิ์คล้ายพระศิลา ในพระวิหารวัดมหาวัน ผู้พบพระรอดในครั้งนั้นคงเรียกตามนามพระรอดหลวง แต่นั้นมาก็ได้นำพระรอดส่วนหนึ่งที่พบในครั้งนี้ นำเข้าบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิม อีกประมาณหนึ่งบาตร

พระรอดขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2451 ในครั้งนั้นฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด ทางวัดได้รื้อออกเสียและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ได้พบพระรอดที่บรรจุไว้ใน พ.ศ. 2435 ได้นำออกมาทั้งหมด และนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและผู้ร่วมงานในขณะนั้น เป็นการพบพระรอดจำนวนมาก พระรอดกรุนี้ถือเป็นพระกรุเก่าและตกทอดมาจนบัดนี้ และทางวัดมหาวันได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่บรรจุไว้แทน เข้าใจว่าคงเป็นรุ่นพี่พระครูบากองแก้วเป็นผู้สร้างไว้เพราะมีบางส่วนนำออกแจกให้ประชาชนในขณะนั้น เรียกว่า พระรอด ครูบากองแก้ว

จากนั้นช่วงเวลาผ่านมาจนถึง ปี พ.ศ. 2498 ได้ขุดพบพระรอดด้านหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิพระ ได้พบพระรอดจำนวนเกือบ 300 องค์ มีทุกพิมพ์ทรง กรุนี้ถือว่าเป็นกรุพระรอดกรุใหม่ ที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันนี้ถึงปี พ.ศ. 2506 ทางวัดมหาวันได้รื้อพื้นพระอุโบสถ เพื่อปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้พบพระรอดครั้งสุดท้ายที่มีจำนวนมากถึง 300 องค์เศษ พระรอดรุ่นนี้มีผู้นำมาให้เช่า ในกรุงเทพจำนวนมาก พระรอดส่วนใหญ่จะคมชัด และงดงามมากเป็นพระรอดกรุใหม่รุ่นสอง หลังจากนั้นต่อมาก็มีผู้ขุดหาพระรอด ในบริเวณลานวัด แทบทุกซอกทุกมุมทั่วพื้นที่ในวัด นานๆ ถึงจะได้พบพระรอดขึ้นมาองค์หนึ่ง เป็นเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งทางวัด ได้ระงับการขุดพระรอด นอกจากพระรอดแล้ว วัดมหาวัน ยังขุดพบพระเครื่องสกุลลำพูน เกือบทุกพิมพ์ ที่พิเศษคือ ได้พบพระแผ่นดุนทองคำเงิน แบบเทริดขนนกมากที่สุดในลำพูนด้วย

พระรอดได้ขุดค้นพบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้นเนื้อดินเผาละเอียดหนักนุ่มมาก องค์พระประทับนั่งขัดเพ็ชรปางมารวิชัยประกอบด้วยพื้นผนังใบโพธิ์ทั้งสองด้าน มีศิลปะโดยรวมแบบทวาราวดี – ศรีวิชัย เป็นรูปแบบเฉพาะของสกุลช่วงสมัยหริภุญไชย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17
ลักษณะ: พระเนื้อดิน เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก ชื่อพระรอดนั้นมีข้อสันนิษฐาน 3 ทางได้แก่
1. ออกเสียงตามผู้ที่สร้างขึ้น คือ พระฤาษีนารอด ซึ่งออกเสียงตามภาษามอญ
2. ผู้ที่สักการะบูชา และนำติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ สามารถรอดพ้นจากอันตรายเป็นอย่างดี จึงเรียกว่าพระรอด
3. เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงได้ชื่อว่าพระลอด และเพี้ยนมาเป็นพระรอด
พุทธคุณ: พระอานุภาพของพระรอด มีความเชื่อกันว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พุทธเอกลักษณ์พระผงสุพรรณ


พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา จำลองพุทธลักษณะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในลักษณะการปางมารวิชัย แบ่งแยกแม่พิมพ์ได้เป็นพิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม (สมัยโบราณเรียกพิมพ์หน้าหนู) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานเชียงชั้นเดียว พระเกศคล้ายฝาละมี มีกระจังหน้า พระพักตร์เคร่งขรึม พระนาสิกหนาใหญ่ พระอุระหนา ส่วนพระการทอดเรียว แสดงออกถึงศิลปะสกุลช่างอู่ทองที่เน้นความละม้ายคล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ เมื่อพบพิมพ์พระ ๓ ประเภท จึงเรียกชื่อตามลักษณะพระพักตร์และตามศิลปะสกุลช่างแห่งพระพุทธรูปที่พระพักตร์เหี่ยวย่นเหมือนคนแก่ เรียกว่า พิมพ์หน้าแก่ ที่พระพักตร์อิ่มเอิบเรียวเล็ก ปราศจากรอยเหี่ยวย่น เรียกว่าพิมพ์หน้าหนุ่ม

พระผงสุพรรณนั้นปรากฏตามจารึกลานทองกล่าวถึงการสร้างว่า “……..พระฤๅษีทั้งสี่ตนจึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย พระฤๅษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกันทำพิธีเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง สถานหนึ่งดำ ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของมหาเถระปิยะทัสสะสี ศรีสารีบุตรคือ เป็นใหญ่เป็นประธานในที่นั้น ได้เอาแร่ต่าง ๆ มีอานุภาพต่างกัน เสกด้วยมนต์คาถาครบ ๓ เดือน แล้วท่านให้เอาไปประดิษฐ์ไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูม… ถ้าผู้ใดพบพระตามที่กล่าวมานี้ พระว่านก็ดี พระเกสรก็ดี ทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี……”

ความหมายจากจารึกลานทองได้กล่าวถึงประเภทของพระผงสุพรรณไว้ ๒ ชนิด ได้แก่ พระเนื้อดินที่มีส่วนผสมจากว่านและเกสรต่าง ๆ โดยเป็นพระเนื้อดินเผาตามกรรมวิธีการสร้างพระพิมพ์สมัยโบราณ สี
พระผงสุพรรณจึงเป็น “สถานหนึ่งดำ สถานหนึ่งแดง” และอีกชนิดหนึ่งได้แก่ พระผงสุพรรณที่ทำจากแร่ธาตุโลหะซึ่งเรียกตามจารึกว่า “ได้เอาแร่ต่าง ๆ มีอานุภาพต่างกัน….ถ้าผู้ใดพบพระ…..ทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี” ซึ่งหมายถึงพระผงสุพรรณเนื้อชินที่รู้จักกันในชื่อ “พระผงสุพรรณยอดโถ”

สำหรับ
พระผงสุพรรณเนื้อดินนั้น เป็นพระเครื่องที่มีส่วนผสมวัสดุมวลสารจากดินละเอียด ว่าน และเกสรต่าง ๆ คนโบราณเรียกว่า “พระเกสรสุพรรณ” จะสังเกตได้ว่าเนื้อดินของพระผงสุพรรณเป็นเนื้อดินค่อนข้างละเอียด หากเปรียบเทียบกับพระนางพญากรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก แล้วจะเห็นว่าเนื้อพระผงสุพรรณจะละเอียดกว่า แต่ไม่ละเอียดมากเหมือน พระรอดกรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน ซึ่งดินที่ใช้เป็นดินในบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งดินแต่ละที่จะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน สำหรับปัญหาที่ว่า หากผสมว่านเมื่อพระผ่านการเผา มวลสารของว่านจะไม่สามารถทนอุณหภูมิความร้อนได้ ต้องย่อยสลายไปนั้น หากพิจารณาแล้วในองค์พระผงสุพรรณก็ไม่ปรากฏโพรงอากาศอันเกิดจากการย่อยสลายของเนื้อว่าน แต่อย่างใดนั้น ต้องพิจารณาถึงกรรมวิธีการสร้างพระของโบราณาจารย์เป็นสำคัญว่า มีหลายวิธี วิธีประการหนึ่งซึ่งพบหลักฐานในการนำว่านผงเกสรมงคล ๑๐๘ มาเป็นวัตถุมงคลในการสร้างพระ ได้แก่ การนำหัวว่านมงคลต่าง ๆ มาคั้นเอาน้ำว่านเป็นส่วนผสมเข้ากับมวลสารอื่น ๆ ซึ่งจะพบว่าพระผงสุพรรณนั้นมีความหนึกนุ่ม และซึ้งจัด หากได้โดนเหงื่อโคลนแล้ว ยิ่งขึ้นเป็นมันเงางามอย่างที่คนโบราณเรียกว่า “แก่ว่าน” ซึ่งได้แก่การคั้นน้ำว่านผสมลงไป ดังนั้น เมื่อผ่านการเผาจึงมิได้เกิดการย่อย สลายของเนื้อว่าน

เนื่องจาก
พระผงสุพรรณเนื้อดินเป็นพระที่ผ่านการเผาไฟ สีสันขององค์พระจึงเป็นเฉกเช่นเดียว กับพระเนื้อดินที่ผ่านการเผาประเภทอื่น ๆ คือ มีตั้งแต่สีเขียวที่ถูกเผาในอุณหภูมิสูงและนานที่สุด สีแดง สีมอย สีน้ำเงินเข้ม สีเทา ไปจนถึงสีดำแต่ปัจจุบันนี้มีถึง ๔ สี คือ ดำ แดง เขียว และขาว
สีขาวและสีเขียวเป็นสีนิยมมากที่สุด รองลงมาคือสีแดง ส่วนสีดำเป็นอันดับสุดท้าย ส่วนเหตุผลที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสุดท้ายน่าจะมากจาก สีดำทำปลอมได้ง่ายกว่าสีอื่น จึงทำให้เซียนพระไม่กล้าเก็บไว้

แม่พิมพ์มีความสำคัญในการพิจารณาพระเครื่องเป็นอย่างยิ่ง พุทธเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ นอกจากจะแสดงถึงศิลปะของสกุลช่างที่ปรากฏยังเป็นสิ่งพิสูจน์ความแท้-เทียมขององค์พระ การแกะสลักแม่พิมพ์ไม่ว่าจะเป็นหินสบู่ หินชนวน หรือแม่พิมพ์ดินเผา จะเป็น “ต้นแบบ” ที่ยากจะทำเลียนแบบได้ หากนำองค์พระไปถอดพิมพ์เพื่อทำพิมพ์ใหม่ องค์พระจะมีขนาดเล็กลง ซึ่งในสายตาผู้ชำนาญการจะสังเกตได้ จุดสังเกตที่ภาษานักสะสมพระเรียกว่า “จุดตาย” นั้นก็คือเอกลักษณ์หรือตำหนิในแม่พิมพ์ โดยเฉพาะส่วนลึกที่สุดขององค์พระ จะเป็นส่วนสูงที่สุดของแม่พิมพ์ซึ่งไม่คลาดเคลื่อนไม่ว่าพระองค์นั้นจะกดลึกหรือกดตื้น แต่ตำหนิสำคัญก็จะคงอยู่ สำหรับพระผงสุพรรณนั้น สามารถแยกแม่พิมพ์ออกเป็น ๓ แบบด้วยกันคือ พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม



พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่ นั้นเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาศิลปะอู่ทอง ประทับนั่งปางมารวิชัย บานฐานเชียง พระพักตร์มีเค้าความเหี่ยวย่น คล้ายคนชราภาพ เป็นที่มาของชื่อ “พิมพ์หน้าแก่” ซึ่งมีจุดสังเกตดังนี้ - พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ มีเพียงแม่พิมพ์เดียว สาเหตุที่ดูเผิน ๆ แตกต่างกันนั้น เนื่องมาจากการผ่านการเผา ทำให้ได้รับความร้อนไม่เท่ากัน ส่งผลให้ขนาด สีสัน วรรณะ การหดตัวไม่เท่ากัน นอกจากนี้การตัด การบรรจุกรุ สภาพการใช้ยังส่งผลต่อการพิจารณาพระผงสุพรรณด้วย - พระเนตรด้านซ้ายขององค์พระยาวรีลึก ปลายพระเนตรตวัดขึ้นสูงกว่าพระเนตรด้านขวา - พระนาสิกหนาใหญ่ สองข้างมีร่องลึกลงมารับพระโอษฐ์ ซึ่งแย้มเล็กน้อย - พระกรรณขวาขององค์พระจะขมวดคล้ายมุ่นมวยผม ไรพระศกทอดยาวลงมามากกว่าพระกรรณด้านซ้าย - เกือบบนสุดของพระกรรณขวามีร่องลึก เหมือนร่องหู และพระกรรณด้านบนเหนือร่องจะหนาใหญ่โค้งคล้ายใบหูมนุษย์ - ด้านในของพระกรรณซ้ายจะมีเม็ดผดคล้ายเมล็ดข้าวสารวางสลับไปสลับมาเรื่อยมาถึงปลายพระกรรณ - พระอุระใหญ่ก่อนจะคอดกิ่วมาทางพระนาภีคล้ายหัวช้าง - ระหว่างพระอุระกับพระอังสะซ้ายขององค์พระเว้าลึกปรากฏเป็นรอยสามเหลี่ยม - มีเส้นบาง ๆ ลากผ่านเหนือพระอังสะซ้ายไปจรดขอบนอกพระอุระด้านซ้ายปลายเส้นปรากฏเม็ดผดเล็ก ๆ ขึ้นเรียงรายได้ราวนมซ้าย - พระหัตถ์ซ้ายหนาใหญ่อยู่กึ่งกลางลำพระองค์ ปลายพระหัตถ์ไม่จรดพระกรขวา เหมือนพิมพ์หน้ากลาง มองเห็นร่องพระหัตถ์ชัดเจน - ข้อพระกรขวาขององค์พระด้านในเว้าลึก


พระผงสุพรรณพิมพ์หน้ากลาง มีพุทธลักษณะเนื้อหาทรวดทรงสัณฐานเช่นเดียวกับพระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่แต่เค้าพระพักตร์จะไม่เคร่งขรึมเหี่ยวย่นเหมือนพิมพ์หน้าแก่ ดูอิ่มเอิบสดใส คล้ายหน้าหนุ่มที่ไม่สูงวัยมาก และจะมีแม่พิมพ์เพียงพิมพ์เดียว มีลักษณะที่น่าสังเกตดังนี้ - พระพักตร์อิ่มเอิบ ไม่เหี่ยวย่นชราภาพเหมือนพิมพ์หน้าแก่ - พระเนตรทั้งสองข้างไม่จมลึกเท่าพิมพ์หน้าแก่ ปลายพระเนตรด้านซ้ายขององค์พระตวัดเฉียงขึ้นเล็กน้อย หากพิจารณาให้ดีจะเห็นได้ว่ารูปพระพักตร์ระหว่างพระเนตรทั้งสองข้างวางได้ระดับเท่ากันทั้งสองข้างไม่เอียงเหมือนพิมพ์หน้าแก่ - พระกรรณทั้งสองข้างจะเป็นเส้นเอียงลงตามเค้าพระพักตร์และมีความยาวเกือบเท่ากันทั้งสองข้าง -ในองค์ที่ติดพิมพ์ชัด ปลายพระกรรณขวาขององค์พระจะเรียวยาวคล้ายจงอยที่ปลายงอเข้าหาด้านในเล็กน้อย ส่วนปลายพระกรรณซ้ายขององค์พระจะแตกเป็นหางแซงแซว - พระอุระผายกว้างและสอบเพรียวตรงพระนาภีดูคล้ายหัวช้าง - พระหัตถ์ซ้ายวางที่หน้าตัก แต่ให้สังเกตปลายพระหัตถ์ก็จะยาวยื่นไปเกือบชนลำพระกรขวาขององค์พระ ซึ่งจะแตกต่างจากพิมพ์หน้าแก่และพิมพ์หน้าหนุ่ม - ข้อพระกรขวาเว้าลึกอย่างเห็นได้ชัด - ในองค์ที่ติดชัดข้างฝ่าพระหัตถ์ขวามีติ่ง เนื้อเกินเล็ก ๆ วิ่งจากโคนนิ้วขึ้นด้านบน



พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าหนุ่ม เป็นพิมพ์ที่มีความลึก คมชัดเป็นอย่างยิ่ง ดูจากสภาพองค์พระที่ปรากฏจะเห็นลักษณะการถอดออกจากแม่พิมพ์ค่อนข้างยากกว่าพระผงสุพรรณพิมพ์อื่น เหตุเพราะแม่พิมพ์มีความลึกมากเป็นพิเศษ ดังนั้น จึงพบองค์สภาพสมบูรณ์น้อยมาก พระพักตร์จะดูอ่อนเยาว์ สดใสและเรียวเล็กกว่าพิมพ์อื่น สมัยโบราณเรียกว่า “พิมพ์หน้าหนู” ซึ่งพระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่มนี้มีแม่พิมพ์เดียว มีข้อสังเกตดังนี้ - พระพักตร์ดูอ่อนเยาว์ สดใส แตกต่างจากพิมพ์หน้าแก่และพิมพ์หน้ากลางอย่างเห็นได้ชัด - พระเนตรทั้งสอข้างอยู่ในระนาบเดียวกัน ปลายพระเนตรซ้ายขององค์พระ ยกเฉียงขึ้นเล็กน้อย - พระนาสิกหนาใหญ่ตั้งเป็นสัน - ริมพระโอษฐ์หนา - พระกรรณจะแตกต่างจากพิมพ์หน้าแก่และพิมพ์หน้ากลาง กล่าวคือ ตั้งขึ้นเป็นสันแนบชิดกับพระพักตร์และยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะทั้งสองข้าง

พระผงสุพรรณ


จังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากเป็นดินแดนแห่ง ยุทธหัตถีแล้ว ยังเป็นเสมือนเมืองแห่งพระเครื่อง พระบูชา หลายสิบชนิด ตั้งแต่สมัยอมรวดี ทวาราวดี ศรีวิชัย ปาละ ลพบุรี อู่ทอง อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ในจำนวนพระที่ขุดพบนั้น พระผงสุพรรณ กรุวัด พระศรีรัตนมหาธาตุ ถือว่าเป็นสุดยอดของพระทั้งหมด โดยจัดให้อยู่ในชุดพระเบญจภาคี

แม้ว่าไม่ปรากฏหลักฐานผู้สร้างที่ชัดเจน แต่มีหลักฐาน ที่สำคัญต่อ การศึกษาของวงการพระเครื่อง พระบูชา คือ ลานทอง ๓ แผ่น ซึ่งเป็นการจารึกประวัติศาสตร์ของการสร้างวัด สร้างพระเครื่องและพระบูชา โดยเฉพาะแผ่นที่ ๒ ซึ่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแปลไว้ว่า


"ศุภมัสดุ ๑๒๖๕ สิทธิการิยะ แสดงบอกไว้ให้รู้ว่า ฤาษีทั้งสี่ตน พระฤาษีพิมพิลาไลย์เป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์ มีสุวรรณ เป็นต้น คือบรมกษัตริย์พระยาศรีธรรมโศกราชเป็นผู้ศรัทธา พระฤาษีทั้งสี่ตน จึงพร้อมกันนำเอาแด่ว่านทั้งหลาย พระฤาษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกัน ทำพิธีเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง สถานหนึ่งดำ ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของมหาเถระปิยะทัสสะสี ศรีสาริบุตร คือ เป็นใหญ่ เป็นประธานในที่นั้น ได้เอาแร่ต่างๆ มีอานุภาพต่างกัน เสกด้วยมนต์คาถาครบ ๓ เดือน แล้วท่านให้เอาไป ประดิษฐ์ไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูม(สุพรรณบุรี) ถ้าผู้ใดพบเห็นให้รับเอาไปไว้สักการบูชาเป็นของวิเศษ แม้จะมีอันตรายประการใดก็ดี ให้อาราธนาผูกไว้ที่คอ อาจคุ้มครองภยันตรายได้ทั้งปวง เอาพระสงสรงน้ำมันหอม แล้วนั่งบริกรรม พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ๑๐๘ จบ พาหุง ๑๓ จบ ใส่ชันสัมฤทธิ์ นั่งสันนิษฐานเอาความปรารถนาเถิดให้ทาทั้งหน้าและผม คอหน้าอก ถ้าจะใช้ทางเมตตา ให้มีสง่า เจรจาให้คนทั้งหลายเชื่อฟังยำเกรง ให้เอาพระไว้ในน้ำมันหอม เสกด้วยคาถานวหรคุณ ๑๓ จบ พาหุง ๑๓ จบ พระพุทธคุณ ๑๓ จบ ให้เอาดอกไม้ธูปเทียนทำพิธีในวันเสาร์ น้ำมันหอมเก็บไว้ใช้ได้เสมอทาริมฝีปาก หน้าผาก และผม ถ้าผู้ใดพบพระตามที่กล่าวมานี้ พระว่านก็ดี พระเกสรก็ดี ทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี อย่างประมาทเลย อานุภาพพระทั้ง ๓ อย่างนี้ดุจกำแพงแก้วกันอันตรายทั้งปวงแล้วให้ว่าคาถาทแยงแก้วกันอันตรายทั้งปวง แล้วให้ว่าคาถาทแยงสันตาจนจบพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณจนจบพาหุงไปจนจบแล้วให้ว่าดังนี้อีก กะเตสิกเกกะระณังมหาไชยังมังคะ สังนะมะพะทะ แล้วให้ว่า กิริมิติ กุรุมุธุ เกเรเมเถ กะระมะทะประสิทธิแล”

แต่สาเหตุที่เรียกว่า “ผงสุพรรณ” ก็เนื่องจากการค้นพบจารึกลานทองกล่าวถึงการสร้างจากผงว่านเกสรดอกไม้อันศักดิ์สิทธิ์ จึงได้รับการเรียกขานกันว่า “ผงสุพรรณ” เรื่อยมา

ศิลปะพระผงสุพรรณมีความสัมพันธ์กับศิลปะพระพุทธรูปประเภทหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง เนื่องมาจากแหล่งต้นกำเนิดของพระผงสุพรรณอยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของศิลปะทางศาสนาที่เรียกว่า ศิลปะอู่ทองประการหนึ่ง นอกจากนี้ ลักษณะการแบ่งแม่พิมพ์พระผงสุพรรณยังจำแนกและเรียกชื่อแม่พิมพ์ตามพุทธลักษณะของพระพุทธรูปอู่ทอง ซึ่งได้แก่ พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม อีกด้วย

ในความเป็นจริงแล้วศิลปะอู่ทองเป็นศิลปะแห่งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมัยทวาราวดีกับสมัยขอมหรือเขมร ต่อมาช่วงหลังได้ผสมผสานศิลปะของสุโขทัยเข้าไปด้วย จนกลายเป็นพุทธศิลปะที่เกิดจากการผสมผสานโดยมีอายุตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ กล่าวคือ เมื่อสิ้นยุคทวาราวดีขอมได้มีอำนาจ ในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ศิลปกรรมแห่งทวาราวดียังคงสืบทอดต่อเนื่อง โดยผสมผสานศิลปะของขอมเข้าไป ก่อนที่สุโขทัยจะกลายเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจรัฐและความเจริญทางด้านพุทธศาสนาต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ศิลปะอู่ทองเดิมจึงผสมผสานกับศิลปะสุโขทัยอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเราอาจแยกประเภทศิลปะของอู่ทองได้ดังนี้

๑. ศิลปะอู่ทองยุคแรก มีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ ศิลปะจะเป็นแบบผสมผสานระหว่างศิลปะทวาราวดีกับศิลปะขอม สามารถจำแนกออกเป็น - ศิลปะอู่ทอง สกุลช่างลพบุรี รู้จักกันในชื่อ “อู่ทองเขมร” “อู่ทอง-ลพบุรี” หรือ “อู่ทอง-ฝาละมี” - ศิลปะอู่ทอง สกุลช่างสุพรรณบุรี รู้จักกันในชื่อ “อู่ทอง-สุวรรณภูมิ” มีลักษณะคล้ายมนุษย์มาก ท่างดงามสุดยอด จะเรียกตามภาษาวงการพระว่า “สันแข้งคางคน”

๒. ศิลปะอู่ทองยุคที่สอง มีอายุอยู่ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ศิลปะจะผสมผสานระหว่างศิลปะอู่ทองยุคแรกกับศิลปะสุโขทัย ช่างสมัยจะคาบเกี่ยวกันระหว่างศิลปะสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น รู้จักกันในชื่อ “อู่ทอง-อยุธยาตอนต้น”

๓. ศิลปะอู่ทองยุคที่สาม มีอายุอยู่ในราว พ.ศ.๑๙๕๒ - ๑๙๙๑ อยู่ในช่วงสมัยสมเด็จพระนครินทราชา สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) จนถึงต้นรัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ศิลปะจะได้รับอิทธิพลของอยุธยามากขึ้น (จากการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณข้างศาลาหลวงพ่อเหย ด้านทิศตะวันตกห่างจากองค์ปรางค์ประธาน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ๓๐ เมตร พบแม่พิมพ์พระดินเผา ขนาดกว้าง ๓ ซ.ม. สูง ๔๒ ซ.ม. เป็นแม่พิมพ์พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่แต่ท่อนล่างหกชำรุด)

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พระกำแพงซุ้มกอ

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก

พระกำแพงซุ้มกอดำ พิมพ์ใหญ่


พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง




พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก


พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปียะ (ไม่ตัดปีก)

พระซุ้มกอ ที่นิยมมากสุด คือ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีกนก ซึ่งเริ่ม มีการพบจากบริเวณลานทุ่งเศรษฐี และบรมธาตุ นครชุม เป็นพระดินเผา ที่มีเนื้อค่อนข้างนิ่ม ละเอียดมาก มีว่านดอกมะขามปรากฏทั่วองค์พระ
ความที่มีความละเอียดและเนื้อนิ่มมาก จึงให้พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มักจะหักชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ พระที่เหลือเป็นแบบที่สมบูรณ์ มีน้อยมากๆ ที่พบเห็นอยู่ในวงการจึงทำให้ความนิยม และ ราคาการเช่าหา พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ เทียบได้กับ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เลยทีเดียว

พุทธลักษณะพระกำแพงซุมกอ เป็นพระปางสมาธิ มีทั้งสมาธิราบ และสมาธิเพชร เป็นศิลปะเชียงแสนผสม กับสุโขทัย คือ องค์พระอวบอ้วน พระอุระผึ่งนูนดูเด่นสง่างามมาก แบบเชียงแสน พระนาภีเรียว การทิ้ง พระพาหา และขัดสมาธิงดงามแบบสุโขทัย มีประภามณฑลรอบพระเศียรคล้าย รูปตัว ก.ไก่ บางท่านว่า ซุ้มที่องค์พระเหมือนรูป ก.ไก่มาก จึงเรียกว่า พระซุ้มกอ

พระกำแพงซุ้มกอ แบบไม่มีลายกนก แบบนี้เป็นพระชนิด เนื้อสีดำและสีเขียว ส่วนสีแดงก็มีบ้าง
พระกำแพงซุ้มกอสีแดงที่ไม่มีลายกนกนี้ พิมพ์ใหญ่มีน้อยมาก พระซุ้มกอดำ เป็นแบบที่มีประภามณฑล คล้ายรูปทรงของตัว ก. แบบอื่นๆ คือยังมีรูปทรง ตลอดจนประภามณฑ ลคล้ายพระพุทธรูป คันธารราฐมากที่สุดนั่นเอง

พระกำแพงซุ้มกอ แบบที่มีลายกนก แบบนี้เข้าใจว่าจะพัฒนา มาจาก แบบแรก คือมีลายบัว ที่ฐาน และการเปล่งรังสี ออกจาก พระวรกาย โดยทำเป็น รูปลายกนก อย่างงดงาม โดยเฉพาะพิมพ์ใหญ่ ช่องพระพาหาลึก ทำให้พระอุระ และองค์พระ ซึ่งแลดูเด่นนูน อยู่แล้วดูสง่างามยิ่งขึ้น นอกจาก ชนิดพิมพ์ บางพิมพ์ เท่านั้นที่ช่องพระพาหาตื้น แบบนี้มีบางพิมพ์ ที่ทำเป็น สมาธิเพชร แต่ส่วนมากทำเป็นสมาธิราบทั้งนั้น
พระกำแพงซุ้มกอ เป็นยอดทางเมตตามหานิยม โภคทรัพย์ โชคลาภ และความเป็น สิริมงคล บางท่านว่ามีพระซุ้มกอ แล้วไม่มีวันจน เมื่อมี ความนิยมสูง ของปลอมย่อมมีปรากฏมากมาย หลายรุ่น หลายแบบ มีทั้งแบบปลอมแบบหยาบๆ และ ปลอมแบบ เหมือนมาก แต่ก็ยังมีจุดที่ไม่เหมือนอยู่หลายจุด ซึ่งเกิดจาก แม่พิมพ์ของพระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีความงดงามและซับซ้อนในรายละเอียดสูง ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ขอพูดถึง เพราะหาชมได้ยากมาก

เนื้อของพระกำแพงซุ้มกอมีดังนี้

เนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด
เนื้อว่าน แบ่งเป็นเนื้อว่านล้วน ๆ และเนื้อว่านหน้าทองคำ เนื้อว่านหน้าเงิน
เนื้อชินเงิน
สองเนื้อหลัง คือเนื้อว่านและเนื้อชินเงิน ปัจจุบันหาพบยาก

พิมพ์ใหญ่มีลายกนก เป็นพิมพ์ที่พบเห็นแพร่หลาย เป็นพระปางสมาธิ บนฐานบัว มีซุ้มลายกนกรอบองค์พระ เป็นพระดินเผา ผสมว่านและเกสรดอกไม้ ตามผิวจะมีจุดแดง ๆ เรียกว่า แร่ดอกมะขาม ซึ่งเป็นวัตถุธาตุตะกูลเหล็กไหล จุดดำเรียกรารัก จับกระจายเป็นหย่อม ๆ

พระกำแพงซุ้มกอ เป็นยอดทางเมตตามหานิยม โภคทรัพย์ โชคลาภ และความเป็น สิริมงคล บางท่านว่ามีพระซุ้มกอ แล้วไม่มีวันจน เมื่อมี ความนิยมสูง ของปลอมย่อมมีปรากฏมากมาย หลายรุ่น หลายแบบ มีทั้งแบบปลอมแบบหยาบๆ และ ปลอมแบบ เหมือนมาก แต่ก็ยังมีจุดที่ไม่เหมือนอยู่หลายจุด ซึ่งเกิดจาก แม่พิมพ์ของพระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีความงดงามและซับซ้อนในรายละเอียดสูง

พระซุ้มกอ จ.กำแพงเพชร

พระเครื่อง พระซุ้มกอ ผู้สร้างไม่ปรากฏแต่สันนิฐานว่า พระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย สร้างเมื่อครั้งครองเมืองกำแพงเพชร ประมาณ พ.ศ. 1900 พบพระซุ้มกอ จำนวนมากเกลื่อนทุ่งเศรษฐี เนื่องจากในเขตทุ่งเศรษฐีพบทุกกรุ แต่ไม่ได้อยู่เป็นกรุกลับแตกกระจายเกลื่อน สันนิฐานว่าเดิมน่าจะอยู่ในกรุ แต่ถูกชาวบ้านรื้อค้นหาพระ หรือสมบัติมีค่า เห็นพระเนื้อดินไม่สนใจ เพราะมีจำนวนมากและพระสกุลกำแพงเพชรที่เป็นเนื้อดินมีเป็น ร้อยๆ พิมพ์ นิยมทุกพิมพ์



พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมกันขึ้นมา ในสมัยของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ โดยมีบันทึกใน พระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประภาสเมืองกำแพงเพชร ปรากฏเรื่องราว ของเมืองกำแพงเพชร และพระเครื่องว่า
...นายชิด มหาเล็กหลวงบวรเดช เดิมรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ลาป่วย ได้กลับมารักษาตัว ที่บ้านภรรยา เมืองกำแพงเพชร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายตำนานพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นจารึกบนแผ่นลานทอง แด่รัชกาลที่ ๕ ขุด ได้จากบริเวณทุ่งเศรษฐี ว่า การพบกรุพระครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ นครชุม จากเจดีย์ ๓ องค์ ได้ถูกซ่อมขึ้นรวมเป็นองค์เดียวโดยชาวพม่า ชื่อพระยาตะก่า แล้วนำยอดฉัตร จากประเทศพม่ามาประดับยอดพระบรมธาตุ ได้บันทึกไว้ว่า
หลังจากพบพระพิมพ์จาก เจดีย์ต่างๆ ในบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ได้พระพิมพ์ จำนวนมาก พระพิมพ์ เมืองกำแพงเพชร นี้นับถือกัน มาช้านานแล้วว่า มีอานุภาพมาก ผู้ใดมีไว้ จะทำการใด ก็มีความสำเร็จ ผลตามความปรารถนาทุกประการ
ทั้งนี้นายชิดได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพิมพ์ทุ่งเศรษฐี หลายแบบ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ อีกด้วย ซึ่งท่านได้นำออก พระราชทาน แก่พระบรมวงศานุวงศ์ต่ออีกภายหลัง จนเป็นที่นิยม ในหมู่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สืบต่อมาอีกจนถึงปัจจุบัน



พระกำแพงทุ่งเศรษฐีมีแหล่งกำเนิดมาจากกรุต่างๆในจังหวัดกำแพงเพชร คือ วัดพระบรมธาตุ วัดพิกุล วัดทุ่งเศรษฐี และวัดซุ้มกอ วัดทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำปิง เมืองนครชุม ในบริเวณทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร เนื้อดินเผาทั้งหมด มีสีแดง สีดำ และสีเขียว มีทั้งแบบยืนและแบบนั่ง พุทธลักษณะเป็นศิลปแบบสุโขทัยยุคต้นมีอายุการสร้างประมาณว่ามากกว่า 600 ปี ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีมีการพบพระกรุทุ่งเศรษฐีกันมากมายหลายพิมพ์ ที่นิยมมากเห็นจะหนีไม่พ้น พระกำแพงเขย่ง ซึ่งได้แก่พระกำแพงเม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา เป็นต้น และ ที่นิยมเป็นที่สุด เป็น ๑ ในชุดเบญจภาคี ก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ



วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พุทธลักษณะพระนางพญา


พระนางพญา เข่าโค้ง

พระพักตร์ จะอูม เป็นรูปไข่ พระเกตุเป็นปลีปลายแหลม มองดูคล้ายเกตุเปลวเพลิง


พระกรรณ เป็นเส้นระบายอ่อนๆพริ้วลงมาประบ่า แลดูเป็นธรรมชาติ

พระศอ ปรากฎเส้นเอ็นเป็นเส้นทิวทั้งสองข้าง และตรงกลางอีกสองเส้นเป็นรอยจางๆ(ในองค์ที่ติดชัด) รวมทั้งรอยพระศอที่มองเป็นทิวแนวโค้งอยู่ใต้พระศอ องค์พระแลดูเพรียวบาง มีขอบสันเน้นเห็นสีข้างขององค์พระ และเห็นสังฆาฏิที่สโลปโค้งทางด้านบนเล็กน้อย และลากลงมาเป็นแนวเส้นที่มีขอบสันของสังฆาฏิ ช่วงบนดูแยกเกือบชิดติดกันกับเส้นอังสะซึ่งลากเป็นเส้นตรงแนวเฉียงผ่านพระอุระ โดยมีปลายแหลมวิ่งเลยไปชนใต้ท้องแขนด้านใน(มองเห็นเป็นแนวเส้นจางๆ)

พระกรข้างที่พาดพระเพลานั้นดูอ่อนช้อยเหมือนงวงช้างมีปลายพระหัตถ์จับเข้าใต้พระเพลาด้านใน และพระกรอีกข้างนั้นวางหงายลงบนที่หน้าตัก แลดูเป็นเส้นสันคมและปลายพระหัตถ์ในด้านนี้ถ้าสังเกตุให้ดี นอกจากจะมีเส้นแตกพิมพ์ คล้ายหัวแม่มืออยู่ด้านในข้างบนแล้ว ที่ปลายพระหัตถ์ยังมีเส้นแตกแยกกันคล้ายเป็นนิ้วกับมืออีกด้วย

พระกัสปะ(ข้อศอก)นั้นจะมีริ้วจีวรที่เป็นเส้นลากพริ้วลงไปหาที่ปลายพระบาท

พระเพลา ของพระนางพญาพิมพ์เข่าโค้งนี้ จะงอโค้งแอ่นขึ้นเหมือนท้องกะทะ ขาข้างขวาที่ซ้อนอยู่ด้านบน มองเห็นเป็นแนวเส้นคมเรียวบาง และวิ่งมาชนกับด้านในข้อมือข้างขวา ที่พาดกับพระเพลา






พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง

พระเกศ เป็นแบบเกศปลี โคนใหญ่ ปลายเรียว กระจังหน้าจะยุบเล็กน้อย

พระพักตร์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูลบมุมทั้งสี่ด้าน พระส่วนใหญ่จะเรียบร้อยไม่มีหน้าไม่มีตา แต่เฉพาะพระที่ติดพิมพ์ชัดเจนจะปรากฏรายละเอียดของ พระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์ ถึงจะเป็นตาตุ่ยๆ แต่จะโปนมากกว่า

พระนลาฏ หน้าผากจะบุบเล็กน้อย มองเห็นไรพระศกด้านบนเด่นชัด

ไรพระศก โดยมากจะสังเกตลีลาการทอดไรพระศกกับพระกรรณเป็นสำคัญ ส่วนมากไรพระศกจะเป็นเส้นเล็กมีความคมชัดมาก วาดตามกรอบพระพักตร์ลงมาจรดพระอังสะทั้ง 2 ด้าน

พระกรรณ เป็นเส้นสลวยสวยงามมาก ตอนกลางของพระกรรณทั้งสองจะมีลักษณะอ่อนน้อยๆ เข้าหาพระศอ พระกรรณซ้ายจะยาวจรดพระอังสะ และเชื่อมต่อกับเส้นสังฆาฏิ

พระอังสะ และ พระรากขวัญ จะต่อกันเป็นแนวย้อยแบบท้องกระทะ แสดงไหล่ที่ยกสูงทั้งสองด้าน ระหว่างแนวซอกช่อง ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นเสี้ยนเล็กๆ ขนานกันไป รอยดังกล่าวมักปรากฏตามซอกอื่นๆ อีกด้วย

พระอุระ นูนเด่นชัดมาก พระถันเป็นเต้านูนขึ้นมา โดยเฉพาะพระถันขวารับกับขอบจีวรซึ่งรัดจนเต้าพระถันนูนขึ้นมา ส่วนพระถันซ้ายมีเส้นสังฆาฏิห่มทับอยู่

พระอุทร นูนเด่นชัด ปรากฏพระนาภีเป็นรูเล็กเท่าปลายเข็มหมุด เหนือพระนาภีปรากฏกล้ามท้องเป็นลอนรวม 3 ลอน

พระพาหา แขนขวากางมากกว่าแขนซ้าย ปล่อยยาวลงมาจรดพระชงฆ์ พระพาหาซ้ายตรงรับกับส่วนองค์ และจะหักพระกัประแล้วทอดไปตามพระเพลา มีขนาดเล็กเรียวกว่าช่วงบน ทำการโค้งขึ้นงดงามมาก ปลายพระหัตถ์สุดที่บั้นพระองค์

พระเพลา เป็นเส้นตรงแบบสมาธิราบ โดยเฉพาะพระเพลาขวาเป็นเส้นตรงขนานกับรอยตัดกรอบด้านล่าง ทำให้เห็นว่าแข้งซ้อนห่างกันอย่างเด่นชัด


บรรดาพิมพ์ทรงของพระนางพญาทั้ง 7 พิมพ์ มีเพียง พิมพ์เข่าตรง เท่านั้น ที่ปรากฏว่ามีแม่พิมพ์อยู่ถึง 2 แบบ คือ พิมพ์เข่าตรง (ธรรมดา) และพิมพ์เข่าตรง (มือตกเข่า) ซึ่งแม่พิมพ์ทั้ง 2 แบบนี้ มีเอกลักษณ์และรายละเอียดตำหนิของแม่พิมพ์แตกต่างกัน สามารถพิจารณาได้ดังนี้




พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง


ตำหนิของ พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง (ธรรมดา) ที่สามารถสังเกตได้ชัดเจนดังนี้

พระเกศ คล้ายปลีกล้วย

พระนลาฏ ด้านซ้ายจะบุบมากกว่าด้านขวา และปรากฏกระจังหน้าชัดเจน

พระกรรณ ปลายหูซ้ายจะเชื่อมติดกับเส้นสังฆาฏิ ส่วนปลายหูขวาจะแตกเป็นหางแซงแซว

พระหัตถ์ ปลายพระหัตถ์ซ้ายจะแหลมและแตกเป็นหางแซงแซว ส่วนพระหัตถ์ขวาจะไม่ปรากฏนิ้วมือ


พระนางพญา พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า


ตำหนิของ พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง (มือตกเข่า) ที่สามารถสังเกตได้ชัดเจนดังนี้

พระเกศ คล้ายปลีกล้วย

พระนลาฏ ด้านซ้ายจะบุบมากกว่าด้านขวา และปรากฏเส้นกระจังหน้าติดกับพระเกศ ระหว่างเส้นกระจังหน้ากับหน้าผาก มีลายเส้นวิ่งขวางหน้าผาก 6 เส้น

พระกรรณ ปลายหูซ้ายจะเชื่อมติดเป็นเส้นเดียวกับเส้นสังฆาฏิ ส่วนปลายหูขวาจะแตกเป็นหางแซงแซว
เส้นอังสะ วิ่งเป็นเส้นตรงผิดกับพิมพ์เข่าตรง (ธรรมดา) และจะวิ่งชอนเข้าไปใต้รักแร้

พระอุระ มีกล้ามเนื้อนูน สีข้างดูคล้ายมีเนื้อมาพอกไว้

พระหัตถ์ ปลายพระหัตถ์ขวาวางอยู่บนหัวเข่าขวาปรากฏนิ้วมือยื่นลงไปด้านล่างใต้เข่า เป็นเอกลักษณ์ของพิมพ์

พระบาท บริเวณปลายพระบาทซ้ายปรากฏเส้นแตกของแม่พิมพ์เห็นได้ชัด

ในอดีตมีผู้ท้วงติงและสงสัยกันว่า พระนางพญา พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า น่าจะเป็นพระวัดโพธิญาณ หรือพระกรุโรงทอมากกว่าของวัดนางพญา เพราะมีส่วนคล้ายคลึงกับ พระนางพญากรุโรงทอ
แต่ปัจจุบันนี้ปัญหาดังกล่าวตกไป และมีการคลี่คลายปัญหาด้านพุทธศิลป์และพิมพ์ทรง ยอมรับเป็นสากลแล้วว่า พระนางพญา พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า เป็นพระของกรุวัดนางพญาอย่างแน่นอน